กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6187
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorวิเชียร ชาลี
dc.contributor.authorนำพล บุตรเชื้อไทย
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T02:34:32Z
dc.date.available2023-05-12T02:34:32Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6187
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มุ่งศึกษาผลกระทบของเถ้าถ่านหินต่อการแทรกซึมคลอไรด์สัมประสิทธิ์การแทรกซึมคลอไรด์ การเกิดสนิมของเหล็กกำลังอัดและโครงสร้างจุลภาคของคอนกรีตที่ใช้มวลรวมหยาบจากเศษคอนกรีตภายใต้สภาวะแวดล้อมทะเลเป็นเวลา 3 ปีโดยใช้เถ้าถ่านหินจากแม่เมาะแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 บางส่วนที่ร้อยละ 0, 15, 25, 35 และ 50 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน และใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.40, 0.45, 0.50โดยหล่อตัวอย่างคอนกรีตทรงลูกบาศก์ขนาด 200 x 200 x 200 มม.และทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 100 มม. สูง 200 มม. สำหรับทดสอบการแทรกซึมของคลอไรด์และกำลังอัดตามลำดับ และฝังเหล็กเส้นกลมขนาดเส้นผ่านศูนยก์ลาง 12 มม.ยาว 50 มม. ที่ระยะคอนกรีตหุ้มเหล็ก 10, 20, 50 และ 75 มม. บ่มตัวอย่างคอนกรีตในน้ำเป็นระยะเวลา 28 วัน จากนั้นนำตัวอย่างคอนกรีตไปแช่ในสิ่งแวดล้อมทะเลที่สภาวะเปียกสลับแห้งเป็นเวลา 3 ปีและเก็บตัวอย่างมาทดสอบหาปริมาณคลอไรด์การเกิดสนิมของเหล็กกำลังอัดและโครงสร้างจุลภาคของคอนกรีต จากผลการศึกษา พบว่า คอนกรีตที่ใช้มวลรวมหยาบจากเศษคอนกรีตที่ผสมเถ้าถ่านหินให้ค่าสัมประสิทธิ์การแทรกซึมของคลอไรด์ต่ำกว่าคอนกรีตที่ไม่ได้ผสมเถ้าถ่านหินอย่างชัดเจน เมื่อลดอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานในคอนกรีตลง ส่งผลให้ลดสัมประสิทธิ์การแทรกซึมของคลอไรด์ในคอนกรีตที่ไม่ได้ผสมเถ้าถ่านหินมากกว่าคอนกรีตที่ผสมเถ้าถ่านหิน นอกจากนี้คอนกรีตที่ใช้มวลรวมหยาบจากเศษคอนกรีตที่มีอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.40 และแทนที่เถ้าถ่านหินในปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ร้อยละ 15 ถึง 25 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน มีความเหมาะสมที่จะใช้ในสิ่งแวดล้อมทะเล เนื่องจากมีกำลังอัดและความสามารถในการต้านทาน การแทรกซึมของคลอไรด์เป็นไปตามที่ ACI 201.2R ได้แนะนำไว้
dc.language.isoth
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
dc.subjectคอนกรีต -- การกัดกร่อน
dc.subjectคอนกรีตผสมขี้เถ้าลอย -- การกัดกร่อน
dc.subjectการกัดกร่อนและการป้องกันการกัดกร่อน
dc.titleกำลังอัด การแทรกซึมของคลอไรด์และการกัดกร่อนเหล็กในคอนกรีตที่ใช้มวลรวมหยาบจากเศษคอนกรีตที่ผสมเถ้าถ่านหินภายใต้สิ่งแวดลล้อมทะเลเป็นเวลา 3 ปี
dc.title.alternativeCompressive strength, chloride penetrtion nd steel corrosion of recycled corse ggregte concrete contining fly sh under 3-yer exposure in mrine envinronment
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study the effect of fly ash on chloride penetration, chloride diffusion coefficient, steel corrosion, compressive strength, and microstructures of concrete made of recycled coarse aggregate exposed to marine environment for 3-year. Mae Moh fly ash was used to replacePortland cement type I at the percentage by weight of 0, 15, 25, 35 and 50, respectively. The water to binder ratios of 0.40, 0.45 and 0.50 were used. Concrete cube specimens of 200×200×200 mm and cylindrical specimens of ø100×200 mm were casted for investigating chloride penetration and compressive strength of concrete, respectively. The round bars withdiameter of 12 mm and length of 50 mm were embedded in the cube specimens at covering depth of 10, 20, 50 and 75 mm. All specimens were cured in tap water for 28 days before being exposed to marine environment. At the end of curing period, the specimens were placed in the tidal zone of marine environment for3 years and then the specimens were collected from marine site to determinate chloride penetration, steel corrosion, compressive strength and microstructures. Based on the experimental results, it was found that fly ash concrete with recycled coarse aggregate had significantly lower chloride diffusion coefficient than those of Portland cement concrete without fly ash. When the W/B ratio of concrete reduced, the decrease of chloride diffusion coefficient in concrete without fly ash was higher than that of fly ash concrete. Moreover, utilization of fly ash at the amount of 15% and 25% by weight of binder with W/B at 0.40 to replace Portland cement in concrete in recycled coarse aggregate was appropriate to use in marine environment, because their compressive strength and chloride penetration resistance were agreed with ACI 201.2R.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธา
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf7.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น