กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6183
ชื่อเรื่อง: | การประยุกต์ใช้แบบจำลองในการวิเคราะห์การอพยพผู้โดยสารบริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินในประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Applying pedestrin simultion to nlysis the evcution t Underground Rilwy Sttion in Thilnd |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นพคุณ บุญกระพือ ธนา น้อยเรือน มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ผู้โดยสาร -- การย้ายถิ่น สถานีรถไฟใต้ดิน -- การออกแบบ แบบจำลองทางวิศวกรรม การออกแบบพื้นที่คนเดินเท้า |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิศวกรรมศาสตร์ หาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาสนใจพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของคนเดินเท้าภายในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินในประเทศไทย เพื่อใช้พัฒนา ปรับเทียบแบบจำลองและวิเคราะห์อัตราการไหลออกของผู้อพยพที่มีผลจากขนาดและรูปแบบของบันได รวมถึงเวลาการอพยพผู้โดยสารจากชานชาลาไปยังจุดปลอดภัยระดับ ผิวดินของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน โดยวิเคราะห์รูปแบบการอพยพ 3 กรณีได้แก่ กรณีที่ 1ผู้โดยสารอพยพ โดยใช้บันไดเท่านั้นได้เลื่อนทั้งหมดไม่เปิดใช้งาน กรณีที่ 2 ผู้โดยสารอพยพโดยใช้บันได และใช้บันไดเลื่อนเฉพาะทิศทางขึ้น 1 เครื่อง และกรณีที่ 3 ผู้โดยสารอพยพโดยใช้บันได และใช้บันไดเลื่อน ทิศทางขึ้น 2 เครื่อง พร้อมแปรเปลี่ยนจำนวนผู้โดยสารที่รอบนชานชาลา แบบจำลองถูกปรับเทียบกับข้อมูลการสำรวจผลที่ได้จะถูกเปรียบเทียบกับค่าเวลาการอพยพตามมาตรฐาน National Fire Protection Association (NFPA 130) พบว่า พฤติกรรมการเดินของผู้โดยสารเพศชายมีความเร็วมากกว่าเพศหญิงและที่ช่วงอายุผู้โดยสารเดียวกันจะมีความเร็วในการเดินใกล้เคียงกัน ความลาดชันของบันได มีผลกระทบต่อความเร็วในการเคลื่อนที่แต่อัตราการระบายการอพยพไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เนื่องจากความลาดชันถูกชดเชยด้วยความยาวของบันได และความสบายในการเดินบนบันได การระบายผู้อพยพจะแปรผันตามความกว้างของบันได และเวลาการอพยพผู้โดยสารที่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่มีลกัษณะทางกายภาพที่ต่างกัน พบว่า กลุ่มรูปแบบสถานีห้วยขวางการอพยพกรณีที่ 1-3 จำนวนผู้อพยพที่มากกว่า 2,350, 3,150 และ 3,500 คน ตามลำดับ กลุ่มรูปแบบสถานีสุขุมวิทที่กรณีที่ 1-3 จำนวนผู้อพยพไม่เกิน 2,600, 2,850 และ 2,950 คน ตามลำดับ กลุ่มรูปแบบสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ในกรณีที่ 1-3 จะสามารถระบายผู้อพยพได้ไม่เกิน 2,300, 3,050 และ 3,650คน ตามลำดับ และรูปแบบสถานีสีลมในกรณีที่ 1-3จะต้องมีจำนวนผู้โดยสารในการอพยพไม่เกิน 1,300, 1,850 และ 2,200 คน ตามลำดับ ถ้าหากจำนวนผู้โดยสารมีมากกว่าที่กล่าวมาเวลาการอพยพผู้โดยสารจากชานชาลาไปยังจุดปลอดภัยจะใช้เวลามากกว่า 6 นาที และเวลาการอพยพขึ้นอยู่กับ ประสิทธิภาพการระบายของสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้ในการอพยพ เช่น บันไดกว้าง 1.80 เมตร และบันไดเลื่อน 1 เครื่อง สามารถระบายผู้อพยพได้ประมาณ 120 และ 80-100 คนต่อนาทีตามลำดับ และการเปิดบันไดเลื่อน 1 เครื่อง จะเพิ่มประสิทธิภาพการอพยพได้เฉลี่ยประมาณ 13-16 เปอร์เซ็นต์ผลที่ได้สามารถใช้เป็นแนวทางพื้นฐานในการพิจารณาออกแบบ วางแผน และจัดการการอพยพภายในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินในประเทศไทยใน การระบายผู้โดยสารออกจากสถานีเพื่อไม่ให้ผู้โดยสารภายในสถานีมีปริมาณที่มากกว่าค่าดังกล่าว |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6183 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 9.94 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น