กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6181
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาอิฐดินประสานโดยใช้เศษแก้ว |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of the lterite bricks by frgments of broken glss usge |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิเชียร ชาลี ปกรณ์ นิคม มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรม -- กลุ่มวิชาเทคโนโลยีการจัดการงานก่อสร้าง อิฐประสาน วัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้ คือ การเพิ่มมูลค่าของอิฐดินประสาน โดยการพัฒนาผิวของอิฐให้มีความสวยงามขึ้น ด้วยการใช้เศษแก้วเป็นส่วนผสมแทนที่ทรายละเอียดในการผลิตอิฐ ซึ่งเศษแก้วจะทำให้ผิวอิฐมีลวดลายและมีความแวววาวเกิดขึ้น และอิฐดิน ประสานที่ได้จะต้องมีสมบัติผ่านมาตราฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนบล็อกประสาร มผช 620/ 2547 ซึ่งจะต้องมีค่ากำลังอัดสำหรับชนิดรับน้ำหนักต้องไม่น้อยกว่า 70 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำตัวอย่างอิฐดินประสานขนาด 5 x 5 x 5 เซนติเมตรและแบ่งเป็นส่วนผสมที่แตกต่างกัน 3 กลุ่ม ซึ่งมีอัตราส่วนของเศษแก้ว:ดินลูกรัง:ปูนซีเมนต์ เท่ากับ 45 :45 :10, 55 : 35 :10, และ 65 :25 : 10 โดยน้ำหนักในแต่ละกลุ่มส่วนผสมจะมี 12 ตัวอย่าง โดย การเปลี่ยนขนาดของเศษแก้ว 4 ขนาดจาการร่อนผ่านตะแกรงเบอร์ 4, 8, 10,และ 16 และใช้เวลาในการบ่มอิฐที่แตกต่างกัน 3 ช่วงเวลา คือ 7, 14, และ 28 วัน นอกจากนี้ยังได้ใช้อิฐดินประสานที่ไม่ผสมเศษแก้วเพื่อใช้เป็นตัวควบคุมเพื่อเปรียบเทียบ โดยแบ่งเป็นส่วนผสมที่แตกต่างกันสามกลุ่ม เช่นกัน ซึ่งมีอัตราส่วนผสมของทรายละเอียด : ดินลูกรัง : ปูนซีเมนต์ เท่ากับ 45 : 45 :10, 55 :35 :10 และ 65 :25 : 10โดยน้ำหนักในแต่ละกลุ่มส่วนผสมจะมี 3 ตัวอย่าง โดยใช้เวลาบ่มอิฐที่แตกต่างกัน 3 ช่วงเวลา คือ 7, 14, และ 28 วัน จากการศึกษาพบว่ากำลังอัดของอิฐดินประสานที่ผสมเศษแก้วมีค่าลดลงตามขนาดเศษแก้วที่ใหญ่ขึ้น และกำลังอัดของอิฐจะลดลงหากเพิ่มปริมาณการแทนที่ด้วยเศษแก้วที่เป็นเช่นนี้ เนื่องมาจากผิวของเศษแก้วเรียบและลื่น ทำให้ความแข็งแรงในการยึดเกาะของอนุภาคปูนซีเมนต์ ไม่ดีเท่ากับทรายละเอียด และส่วนผสมที่เหมาะสมในการผลิตอิฐดินประสานในการศึกษานี้ คือ อัตตราส่วนของเศษแก้ว : ดินลูกรัง : ปูนซีเมนต์ เท่ากับ 55 :35 :10 โดยน้ำหนัก โดยใช้เศษแก้วที่ค้างตะแกรงเบอร์ 8 เบ็นส่วนผสม ซึ่งจะได้ลักษณะผิวที่สวยงามจากเศษแก้วและมีกำลังอัดสูงกว่ามาตราฐานผลิตภัณท์ชุมชนบล็อกประสาน มผช 620/2547 |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6181 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 4.13 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น