กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6180
ชื่อเรื่อง: | การหาความถี่ธรรมชาติของสะพานโดยใช้ผลตอบสนองความเร่งของรถยนต์นั่งส่วนบุคคล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Bridge nturl frequency identifiction by using pssenger cr’s ccelertion response |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พัทรพงษ์ อาสนจินดา อธิวัฒน์ มณีรัตน์โรจน์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สะพาน -- น้ำหนักจร สะพาน -- การสั่นสะเทือน -- แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ พลศาสตร์โครงสร้าง |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการหาค่าความถี่ธรรมชาติของสะพานจากผลตอบสนองความเร่งของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลด้วยวิธีการทดสอบแบบทางอ้อม เพื่อแสดงให้เห็นความเป็นไปได้ข้องวิธีการทดสอบ รวมทั้งนำเสนอกระบวนการวิเคราะห์และรูปแบบการทดสอบที่เหมาะสม โดยได้ทำการทดสอบภาคสนามกับสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กช่วงสั้น จำนวน 3 สะพาน และใช้ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล 2 ประเภท ได้แก่ รถนั่งสองตอนท้ายบรรทุก (Pickup) และรถนั่งสามตอนเอนกประสงค์ (SUV) เป็ นยานพาหนะทดสอบ โดยหัววัดความเร่งได้ถูกติดตั้งที่บริเวณกึ่งกลางเพลาหลังของรถยนต์ทดสอบ และทำการเปรียบเทียบค่าความถี่ที่ได้กับความถี่จากหัววัดความเร่งที่ใต้ท้องสะพาน ซึ่งเป็นการวัดแบบทางตรง โดยพิจารณาผลของความเร็วที่แตกต่างกัน ความถี่ธรรมชาติของสะพานสามารถหาค่าได้จากกระบวนการวิเคราะห์สัญญาณ ความเร่งตรวจวัดที่นำเสนอ ซึ่งประกอบด้วย 3 ลำดับขั้นตอนได้แก่ 1) การแปลงฟูเรียร์แบบเร็ว (FFT) 2) การแยกรูปแบบสัญญาณเชิงประจักษ์ (EMD) และ 3) การแยกรูปแบบสัญญาณเชิงประจักษ์ร่วมกับการตัดช่วงสัญญาณความเร่งจากผลการศึกษาพบว่า ความถี่ที่ได้จากกระบวนการวิเคราะห์ที่นำเสนอมีค่าตรงกันกับค่าที่ได้จากการตรวจวัดทางตรงที่สะพาน คิดเป็นร้อยละ 79.67 ของกรณีที่ระบุค่าความถี่ได้ซึ่งแสดงถึงความเป็นไปได้ในการใช้วิธีการทดสอบทางอ้อมแทนการวัดโดยตรงและจากผลของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า การใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถมาก มีช่วงล่างที่มีความหน่วงสูงและเคลื่อนที่เพียงคันเดียวบนสะพานด้วยความเร็ว ประมาณ 36-55 กม./ชม. เป็นกรณีที่แนะนำในการนำไปประยุกต์ใช้ ส่วนการหาค่าความถี่ธรรมชาติ จริงของสะพานเป็นไปได้ยากและมีความซับซ้อนสูง ดังนั้นวิธีการทดสอบทางอ้อมจึงเหมาะสำหรับการนำมาใช้เพื่อคัดกรองสะพานที่อาจเกิดความเสียหายเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของความถี่ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6180 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 7.1 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น