กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6178
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorจตุภัทร เมฆพายัพ
dc.contributor.advisorกิดาการ สายธนู
dc.contributor.authorพจนา พจนวิชัยกุล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T02:34:30Z
dc.date.available2023-05-12T02:34:30Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6178
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะทางกายภาพ คุณสมบัติทางเคมี และองค์ประกอบทางเคมีของข้าวไทยทั้งข้าวพันธุ์พื้นเมืองและข้าวพันธุ์เชิงพาณิชย์ทั้งหมดจำนวน 14 สายพันธุ์ ด้วยการวิเคราะห์แบ่งกลุ่มและการวิเคราะห์ส่วนประกอบหลัก ผลการวิจัยพบว่า สามารถจัดกลุ่มข้าวไทยได้เป็น 3 กลุ่มคือกลุ่มที่ 1 เป็นข้าวพันธุ์เชิงพาณิชย์ที่เป็นข้าวเจ้าหอม จำนวน 5 สายพันธุ์ ประกอบด้วย ข้าวพันธุ์กข 15 ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ข้าวพันธุ์คลองหลวง 1 และข้าวพันธุ์หอมสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นกลุ่มข้าวที่มีลักษณะเมล็ดข้าวนุ่มและเหนียวเมื่อผ่านการหุงต้ม กลุ่มที่ 2 เป็นข้าวพันธุ์เชิงพาณิชย์ที่มีปริมาณอมิโลสค่อนข้างสูงจำนวน 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วยข้าวพันธุ์ปทุมธานี 60 ข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 60 ข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 และข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 90 ซึ่งเป็นกลุ่มข้าวที่มีลักษณะเมล็ดข้าวร่วนและค่อนข้างแข็ง เมื่อผ่านการหุงต้ม และกลุ่มที่ 3 เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมือง จำนวน 5 สายพันธุ์ประกอบด้วยข้าวพันธุ์เฉี้ยงพัทลุง ข้าวพันธุ์นางพญา 132 ข้าวพันธุ์พลายงามปราจีนบุรี ข้าวพันธุ์เล็บนกปัตตานี และข้าวพันธุ์สังข์หยด ซึ่ง เป็นกลุ่มข้าวที่มีสารอาหารค่อนข้างสูง นอกจากนี้เมื่อศึกษาส่วนประกอบแร่ธาตุของข้าวกล้องงอกจากข้าวพันธุ์พื้นเมืองและข้าวกล้องจากข้าวพันธุ์เชิงพาณิชย์ทั้งหมด จำนวน 8 สายพันธุ์ พบว่า สามารถจัดกลุ่มข้าวกล้องงอก จากข้าวพันธุ์พื้นเมืองและข้าวกล้องจากข้าวพันธุ์เชิงพาณิชย์ได้เป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มที่ 1 เป็น ข้าวกล้องจากข้าวพันธุ์เชิงพาณิชย์จำนวน 5 สายพันธุ์ ประกอบด้วย ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ข้าวพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 ข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ข้าวพันธุ์กข 31 และข้าวพันธุ์กข 6 และกลุ่มที่ 2 คือ ข้าวกล้องงอกจากข้าวพันธุ์พื้นเมืองจำนวน 3 สายพันธุ์ประกอบด้วยข้าวพันธุ์เหนียวดำช่อไม้ไผ่ข้าวพันธุ์เหนียวแดงกรามแรด และข้าวพันธุ์เหนียวดำหมอ และพบว่า ข้าวกล้องงอกจากข้าวพันธุ์พื้นเมืองเป็นพันธุ์ที่มีส่วนประกอบแร่ธาตุค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับข้าวกล้องจากข้าวพันธุ์เชิงพาณิชย์
dc.language.isoth
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectข้าว -- การวิเคราะห์
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสถิติ
dc.titleการกำหนดส่วนประกอบแร่ธาตุและลักษณะของข้าวไทยด้วยการวิเคราะห์หลายตัวแปร
dc.title.alternativeDetermintion of minerl composition nd chrcteristic of thi rice with multivrite nlysis
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research was objective to study physical characteristics, chemical properties and chemical compositions of 14 Thai rice varieties for both local and commercial rice with cluster analysis and principal component analysis. The results of research revealed cluster analysis was able to divide all Thai rice into 3 clusters. Cluster 1 showed 5 commercial rice of fragrant rice with soft and sticky cooked grains. (RD15, Khao Dawk Mali 105, Pathum Thani 1, Khlong Luang 1 and Hawm Suphan Buri). Cluster 2 showed 4 commercial rice with high amylase, loose and hard cooked grains. (Pathum Thani 60, Suphan Buri 60,Suphan Buri 1 andSuphan Buri 90). Cluster 3 showed 5 local rice with high nutrients (Chiang Phatthalung, Nahng Payah 132,Plai Ngahm Prachin Buri, Leb Nok Pattani and Sangyod). Furthermore, the mineral composition of 8 varieties for germinated brown rice of local rice and brown rice of commercial rice were then studied. It revealed cluster analysis was capable to separate all germinated brown rice of local rice and brown rice of commercial rice into 2 clusters. Cluster 1 showed 5 brown rice of commercial rice (Pathum Thani1, Khao Dawk Mali 105, Chai Nat 1, RD31 and RD6) and Cluster 2 showed 3 germinated brown rice of local rice (Niaw Dum Chor Mai Phi, Niaw Daeng Kam Rad and Niaw Dum Mor). In addition, the germinated brown rice of local rice had higher minerals composition than brown rice of commercial rice.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineสถิติ
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น