กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6177
ชื่อเรื่อง: | การประยุกต์ภาพถ่ายรายละเอียดสูงจากระบบหุ่นยนต์อากาศยานเพื่อจำแนกพรรณไม้ยืนต้นบริเวณโครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด มูลนิธิชัยพัฒนา จังหวัดจันทบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Appliction of very high resolution imge from mini unmnned eril system for identifiction of the tree in nget forest community of the chipttn foundtion, chnthburi province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กาญจนา หริ่มเพ็ง กฤษนัยน์ เจริญจิตร เลิศพงศ์ สุวรรณเลิศ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ภาพถ่ายทางอวกาศ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ต้นไม้ -- ไทย -- จันทบุรี ป่าไม้ -- จันทบุรี |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด เป็นโครงการพัฒนาป่าชุมชนเพื่อให้ผู้สนใจทั้งภายในและภายนอกท้องถิ่นได้ศึกษาหาความรู้การอนุรักษ์และรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืน ซึ่งพื้นที่ศึกษาตั้งอยู่ตำบลตกพรม อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี มีขนาดพื้นที่ประมาณ 160 ไร่ในปัจจุบัน ได้มีเทคโนโลยีการสำรวจและการทำแผนที่ภาพถ่ายรายละเอียดสูงซึ่งข้อมูลที่ได้เป็นปัจจุบันที่สุดของพื้นที่ศึกษา วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ การประยุกต์เทคโนโลยีระบบอากาศยานขนาดเล็ก (small Unmanned Aerial System : sUAS) เพื่อจำแนกพรรณไม้ยืนต้นจากภาพถ่าย และเปรียบเทียบเทคนิคการ จำแนกเชิงจุดภาพ (Pixel Based Classification) กับเทคนิคการจำแนกเชิงวัตถุ (Object-based Image Analysis : OBIA) ร่วมกับการเก็บข้อมูลภาคสนาม ซึ่งภาพที่ได้จากอากาศยานเป็นภาพสีจริงที่ได้จากกล้อง นำมาวิเคราะห์ร่วมกับการทำดัชนีพืชพรรณ Green-Red Vegetation Index : GRVI (Object-based Image Analysis : OBIA) โดยร่วมกับการพัฒนาแบบจำลองฐานกฎ (Rule-based Model) เพื่อที่จะทดสอบการระบุพรรณไม้ยืนต้น ผลการศึกษาในการใช้แบบจำลองฐานกฎกับการจำแนกท้ังสองเทคนิค โดยทดสอบความถูกต้องเชิงพื้นที่เปรียบเทียบกับการจำแนกด้วยบุคคลซึ่งเชื่อว่า มีความถูกต้องมากที่สุด พบว่า การจำแนกข้อมูลเชิงวัตถุมีความถูกต้องเชิงพื้นที่คิดเป็นค่ากำลังสองความคลาดเคลื่อน (Root Mean Square Error) เท่ากับ 5.24 และการจำแนกเชิงวัตถุเท่ากับ 15.87 ซึ่งการจำแนกจากมนุษย์มีค่าเท่ากับ 4.90 ซึ่งการจำแนกเชิงวัตถุมีค่าใกล้เคียงสูงกว่าการจำแนกเชิงจุดภาพระบบหุ่นยนต์อากาศยานขนาดเล็ก และเทคนิคแบบฐานกฎมีประสิทธิภาพที่ช่วยในการจำนกและทำแผนที่ป่าไม้รายละเอียดสูงได้ในระดับหนึ่ง อีกทั้งยังสามารถช่วยส่งเสริมในการจัดการป่าไม้ได้ในอีกทางหนึ่งและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ พรรณไม้ยืนต้นส่วนใหญ่ที่พบ ได้แก่ ยางพารา (Hevea brasiliensis Muell. Arg.), ตะแบก (Lagerstroemia floribunda Jack.), มะพร้าวนกกก (Horsfieldia glabra (Blume) Warb.), ราชดัด (Brucea javanica (L.) Merr.), ปอหู (Hibiscus Macrophyllus Roxb. Ex Hornem.) เป็นต้น โดยในอนาคตจะทำการทดสอบกล้อง Near Infrared และพัฒนาแบบจำลองที่สามารถจำแนกได้ถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6177 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 10.65 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น