กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6176
ชื่อเรื่อง: การจำแนกขนาด ร้อยละการปกคลุม และความหนาแน่นของหญ้าทะเล โดยประยุกต์ภาพถ่ายรายละเอียดสูงจากหุ่นยนต์อากาศยานขนาดเล็ก บริเวณอุทยานแห่งชาติ หาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Size , percentge of coverge nd distribution of segrss using smll unmnned eril system in hd cho mi ntionl prk , trng province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กาญจนา หริ่มเพ็ง
กฤษนัยน์ เจริญจิตร
พิสุทธิ์ กวีวังโส
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
หญ้าทะเล -- หาดเจ้าไหม (ตรัง)
หญ้าทะเล -- การจำแนก
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: หญ้าทะเลเป็นแหล่งทรัพยากรชายฝั่งที่สำคัญ ซึ่งเป็นแหล่งอาหาร และที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำปัจจุบันหญ้าทะเลมีปริมาณลดลง เนื่องจาก ถูกทำลายจากมนุษย์และภัยธรรมชาติในการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้ภาพถ่ายทางอากาศจากหุ่นยนต์อากาศยานขนาดเล็ก (Small Unmanned Aerial Vehicle : sUAV) เพื่อจัดทำแผนที่ภาพถ่ายรายละเอียดสูงของชนิดพันธ์หญ้าทะเลและความ หนาแน่นของหญ้าทะเล โดยภาพจากหุ่นยนต์อากาศยานขนาดเล็กจะเป็นภาพสีจริง (RGB camera) และภาพอินฟาเรดใกล้ (Near Infrared) เพื่อทดสอบการจำแนกระหว่างการจำแนกข้อมูลเชิงจุดภาพ (Pixel Based Classification) ด้วยขั้นตอนการจำแนกความน่าจะเป็นสูงสุด (Maximum Likelihood- Classification) กับวิธีการจำแนกข้อมูลเชิงวัตถุ (Object-based Classification) ร่วมกับแบบจำลองฐานกฎ (Rule Based Model) เพื่อเปรียบเทียบความถูกต้องในการจำแนกชนิดพันธ์หญ้า ทะเล ผลการศึกษาในภาคสนามชนิดพันธ์ของหญ้าทะเลที่พบได้แก่ หญ้าคาทะเล (Enhalus acoroides) หญ้าใบมะกูด (Halophila ovalis) หญ้าชะเงาเต่า (Thalassia hemprichii) เป็นต้น ผลวิธีการจำแนกแบบควบคุมโดยผู้เชี่ยวชาญมีค่าความถูกต้องโดยรวม (Overall Accuracy) สูงกว่าเทคนิคการจำแนกเชิงวัตถุ โดยวิธีการจำแนกแบบควบคุมโดยผ้เชี่ยวชาญมีค่าความถูกต้องโดยรวม 88% และค่าสัมประสิทธิ์แคปปา (Kappa Coefficient) อยู่ที่ 0.84 ส่วนวิธีการจำแนกเชิงวัตถุความถูกต้องโดยรวมอยู่ที่ 80% และค่าสัมประสิทธิ์แคปปาเท่ากับ 0.71 จึงนำวิธีการจำแนกแบบควบคุม โดยผู้เชี่ยวชาญมาทำแผนที่ การจำแนกร้อยละความหนาแน่นของหญ้าทะเลโดยความถูกต้องโดยรวมอยู่ที่ 77% และค่าสัมประสิทธิ์แคปปาเท่ากับ 0.69 สำหรับการศึกษาในอนาคตควรใช้กล้องถ่ายภาพหลายช่วงคลื่น (Multispectral Camera) เพื่อช่วงคลื่นที่เหมาะในการจำแนกมากขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6176
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf7.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น