กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6174
ชื่อเรื่อง: การประยุกต์ข้อมูลภูมิสารสนเทศ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงพื้นที่หญ้าทะเล หลังเหตุการณ์สึนามิ ระหว่างปี พ.ศ.2547-พ.ศ.2558 บริเวณอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Appliction of geoinformtics for segrss chnge evlution fter tsunmi 2004-2015 in hd cho mi ntionl prk, trng province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กาญจนา หริ่มเพ็ง
กฤษนัยน์ เจริญจิตร
วรพงศ์ กอนสิน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
หญ้าทะเล -- หาดเจ้าไหม (ตรัง)
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ประเทศไทยมีระบบนิเวศที่เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำที่สำคัญ 3 รูปแบบ ได้แก่ ระบบนิเวศป่าชายเลน ระบบนิเวศปะการัง และ ระบบนิเวศหญ้าทะเล โดยเฉพาะแหล่งหญ้าทะเลเป็นระบบนิเวศชายฝั่งที่มีความสมบูรณ์เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงช่วยป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งได้เป็นอย่างดีซึ่งในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรังนั้นถือได้ว่าเป็นพื้นที่ที่มีจำนวนหญ้าทะเลมากที่สุดในประเทศไทย แต่ในปัจจุบันสถานการณ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลของไทยกำลังอยู่ในสภาวะวิกฤต ทำให้เกิดปัญหาการกัดเซาะตามแนวชายฝั่ง มีการศึกษาเพื่อที่จะอนุรักษ์จำนวนของหญ้าทะเลให้คงไว้ในการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมหรือการสำรวจระยะไกลในการประเมินพื้นที่ของหญ้าทะเลใน บริเวณอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม เพื่อที่จะวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่หญ้าทะเลหลังจากได้รับผลกระทบทางธรรมชาติคือ คลื่นสึนามิ ที่เป็นภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงที่สุดที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2547 ในการศึกษานี้ใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียม Landsat 5 TM และ Landsat 8 OLI ที่บันทึกครอบคลุมพื้นที่ศึกษาในปีพ.ศ. 2547 ถึง ปี พ.ศ. 2558 (ยกเว้น ภาพในช่วงปี พ.ศ. 2555 เนื่องจากไม่มีการบันทึกภาพ) ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมจะถูกใช้ในการจำแนกข้อมูลหญ้าทะเล และส่วนที่ไม่ใช่หญ้าทะเลโดยจะเปรียบเทียบการจำแนกของ 2 เทคนิค คือ เทคนิคการจำแนกข้อมูลแบบกำกับดูแล (Supervised Classification) และเทคนิคการแบ่งส่วนของภาพ (Object Based Image Analysis) จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า คลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นในปี 2547 มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่หญ้าทะเลเมื่ออ้างอิงจากผลการวิเคราะห์แล้ว แสดงให้เห็นว่าเกิดผลกระทบต่อประชากรหญ้าทะเล ทำให้จำนวนประชากรหญ้าทะเลลดลง ซึ่งการประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมสามารถจำแนกหญ้าทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในอนาคตสามารถใช้ข้อมูลดาวเทียมที่มีความละเอียดสูงขึ้น เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการจำแนกให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6174
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf9.94 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น