กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6153
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สบู่เหลวน้ำผึ้งชันโรง วิสาหกิจชุมชนกระแจะจันท์ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of products nd pcking of stingless bee liquid sop of the Krjechn Community, Nyim district, Chnthburi
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปัญญณัฐ ศิลาลาย
ประภัสสร คุ้มตระกูล
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: บรรจุภัณฑ์สบู่เหลว
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร
สบู่เหลว -- การบรรจุหีบห่อ
การจัดการผลิตภัณฑ์
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สบู่เหลวน้ำผึ้ง ชันโรง วิสาหกิจชุมชนกระแจะจันท์ อ.นายายอาม จ.จันทบุรี ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อศึกษาลักษณะของบรรจุภัณฑ์่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสบู่เหลวน้ำผึ้ง ชันโรงโดยการวิจัยแบบเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยมีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method) คือเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามและแบบสนทนาเชิงกลุ่มเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัยโดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภค จำนวน 400 คน และสนทนากลุ่ม (Focus group) ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่ายและผู้บริโภครวมทั้งสิ้น จำนวน 9 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 400 คน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุ 21 ปี –30 ปี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000–20,000 บาท ผลการวิเคราะห์ รูปแบบบรรจุภัณฑ์พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกบรรจุภัณฑ์แบบที่ 2 มากที่สุด จากการทดสอบสมมุติฐานที่ 1 ลักษณะของบรรจุภัณฑ์มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสบู่เหลวน้ำผึ้งชันโรง โดยวิธี Multiple Linear Regression พบว่า ด้านการขนถ่ายสินค้า ด้านการจัดเก็บ ด้านความคงทน ด้านความสะดวกในการถือและด้านการกำจัด มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สบู่เหลวน้ำผึ้งชันโรง ในขณะที่ด้านการเปิดและปิดใหม่และด้านหลังการใช้หรือการใช้ซ้ำไม่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สบู่เหลวน้ำผึ้งชันโรง สอดคล้องกับผลจากการสัมภาษณ์เชิงกลุ่มพบว่า ความคิดเห็นในเรื่องลักษณะของบรรจุภัณฑ์ควรมีขนาด 250 มิลลิลิตร และ 500 มิลลิลิตร เนื่องจากเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ผู้บริโภคนิยมใช้และเสนอให้มีบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็กสำหรับทดลองใช้สำหรับแจกให้ลูกค้าทดลองใช้เพื่อเป็นการสร้างความรู้จักให้ผู้บริโภค ด้านการจัดเก็บได้มีการเสนอให้เพิ่มบรรจุภัณฑ์แบบฝาปั๊ม เพราะมีความสะดวกต่อการใช้งาน และควรมีบรรจุภัณฑ์แบบขวดใส และจากการทดสอบสมมติฐานที่ 2 องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสบู่เหลวน้ำผึ้งชันโรง โดยวิธี Multiple Linear Regression พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์พื้นฐาน ด้านผลิตภัณฑ์คาดหวัง ด้านผลิตภัณฑ์ควบ ด้านศักยภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สบู่เหลวน้ำผึ้งชันโรง ในขณะที่ด้านประโยชน์หลักไม่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สบู่เหลวน้ำผึ้งชันโรง สอดคล้องกับผลจากการสัมภาษณ์เชิงกลุ่มพบว่า ด้านผลิตภัณฑ์พื้นฐาน มีการเสนอให้ทำผลิตภัณฑ์แบบถุงเติม ด้านผลิตภัณฑ์คาดหวัง ควรมีการจัดส่วนลดในกรณีที่ซื้อสินค้าจำนวนมาก ด้านผลิตภัณฑ์ควบ มีการเสนอให้มีของแถม เช่น ฟองน้ำขัดผิว และมีการจัดส่งฟรีในกรณีที่สั่งสินค้า จำนวนมาก ด้านศักยภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ควรได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยา
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6153
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57710312.pdf2.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น