กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6141
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาการหาน้ำหนักเพลาของยานพาหนะหนักจากผลการตอบสนองความเครียดทางพลศาสตร์ของสะพานที่ปราศจากอุปกรณ์ตรวจจับเพลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A development of hevy vehicle's xle lods identifiction from bridge dynmic strin response without using xle detector
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พัทรพงษ์ อาสนจินดา
ศุภชัย เชื้อเกตุ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
อุปกรณ์วัดความเครียดของวัสดุ
สะพาน -- น้ำหนักจร
ความเครียดและความเค้น
น้ำหนักจร
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการจำแนกประเภทพร้อมการหาน้ำหนักของรถบรรทุกขณะเคลื่อนที่ โดยใช้เพียงผลตอบสนองความเครียดของโครงสร้างสะพาน เพื่อให้ระบบ หาน้ำหนักรถบรรทุกขณะเคลื่อนที่ใช้อุปกรณ์ที่น้อยลง ซึ่งสามารถลดต้นทุนของระบบและลดความซับซ้อนในการวิเคราะห์ข้อมูลจากผลตอบสนองตรวจวัดจากอุปกรณ์หลายประเภท เช่น อุปกรณ์ตรวจจับเพลา โดยระบบจะทำการจำแนกประเภทของรถบรรทุกจากการหาจำนวนเพลา และระยะห่างเพลาก่อนทำการวิเคราะห์น้ำหนักเพลาและน้ำหนักรวมของรถบรรทุก เพื่อเพิ่มความถูกต้องในการคำนวณสัญญาณความเครียดในหน้าตัดสะพานจะถูกปรับปรุงค่าให้มียอดของสัญญาณความเครียดที่ชัดเจนขึ้น ความเร็วของรถบรรทุกคำนวณได้จากสมมติฐานความเร็วคงที่ โดยหาเวลาที่รถบรรทุกเคลื่อนที่ระหว่างตำแหน่งตรวจวัดสองจุด ด้วยการเทียบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสัญญาณความเครียด วิธีการจำแนกประเภทรถบรรทุกสามารถทำได้สองแนวทางที่แตกต่างกันสำหรับการหาตำแหน่งเพลา ได้แก่ 1) การใช้วิธียกกำลังสองน้อยที่สุดของเส้นอิทธิพลทางสถิตย์ของสัญญาณความเครียด และ 2) การใช้ฟังก์ชั่น findpeaks ในซอฟท์แวร์ MATLAB ซึ่ง พบว่า วิธีการที่สองมีประสิทธิภาพสูงกว่าวิธีแรก สำหรับน้ำหนักเพลาและน้ำหนักรวมของรถบรรทุกคำนวณได้โดยอาศัยหลักการวิเคราะห์ปัญหาแบบย้อนกลับของความสัมพันธ์ระหว่างแรงกระทำเคลื่อนที่กับผลตอบสนองความเครียดทางพลศาสตร์ของสะพานด้วยวิธียกกำลังสองน้อยที่สุดร่วมกับเทคนิคเรกูลาร์ไรเซชั่น และได้เพิ่มความถูกต้องของน้ำหนักรถบรรทุกด้วยเทคนิคการปรับปรุงองค์ประกอบทางสถิตย์ งานวิจัยได้ทำการศึกษาด้วยแบบจำลองในห้องปฏิบัติการ โดยพิจารณารถบรรทุกประเภท 2-7 เพลา จากผลการศึกษาพบว่าระบบที่นำเสนอสามารถจำแนกประเภทรถบรรทุกได้ถูกต้องในทุกกรณี และสามารถคำนวณหาน้ำหนักเพลารวมของรถบรรทุกได้ดี โดยมีระดับความถูกต้องของน้ำหนักรวมของรถบรรทุกประเภทร้อยละ 88.36 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 100 และระดับความถูกต้องร้อยละ 91.42 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6141
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
56910172.pdf14.71 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น