กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/610
ชื่อเรื่อง: | ลักษณะทางจุลกายวิภาคและจุลกายวิภาคของเนื้อเยื่อที่เป็นโรคของทางเดินอาหาร ระบบสืบพันธุ์ และระบบขับถ่ายของม้าน้ำ (Hippocamcampus spp) |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Histological structure and histological structure of digestive tract, reproductive organs and excretory organs of Seahorse (Hippocamcampus spp) |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อัมพร ทองกู้เกียรติกูล มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ม้าน้ำ - - จุลกายวิภาคศาสตร์ - - วิจัย สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2547 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ม้าน้ำที่เป็นโรคที่พบในม้าน้ำที่เลี้ยงที่สถาบันวิทยาศาตร์ทางทะล สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ม้าน้ำกลุ่มนี้จะมีอาการบวมของหาง ทำให้ม้าน้ำลอยตัว เอาส่วนหางขึ้น ทำให้ม้าน้ำกินอาหารลำบาก เมื่อผ่าดูอวัยวะต่าง ๆไม่มีความผิดปกติ กลุ่มที่ 2 ม้าน้ำกลุ่มนี้ไม่กินอาหาร เมื่อผ่าดูอวัยวะภายในช่องท้อง จะมีไขมันสีเหลือง จำนวนมาก และพบเมือกมากบริเวณทางเดินอาหารและลำไส้ กลุ่มที่ 3 ม้าน้ำกลุ่มนี้เหงือกมีสีซีด ผลการศึกษาทางด้าน Histology เม็ดเลือด ลักษณะโครงสร้างของเม็ดเลือดของม้าน้ำที่เป็นโรค เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบธรรมดาไม่มีความแตกต่างจากเม็ดเลือดของม้าน้ำที่ปกติ ดังภาพที่ 1A และ 1B ตับ ลักษณะโครงสร้างของตับของม้าน้ำที่เป็นโรคเมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบธรรมดาไม่มีความแตกต่างจากโครงสร้างของตับของม้าน้ำที่ปกติ ดังภาพที่ 2A และ 2B เหงือก เหงือกของม้าน้ำที่เป็นโรคกลุ่มที่ 3 จะมีเซลล์ที่มีลักษณะบวม ดังภาพที่ 3A แต่เมื่อศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดไม่พบความผิดปกติของเหงือก ดังภาพที่ 7 A ระบบทางเดินอาหาร เมื่อนำทางเดินอาหารของม้าน้ำกลุ่มที่ 2 ศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบธรรมดา พบเซลล์ 2 ชนิด ชนิดแรกเมือกมีลักษณะกลม ฐานกว้าง คล้ายแจกันนิวเคลียสกลมบริเวณกลางเซลล์ เซลล์ชนิดนี้จะพบจำนวนมาก เซลล์ชนิดที่ 2 เซลลืเยื่อบุผิว เซลล์ทรงสูง นิวเคลียสยาวพบบริเวณกลางเซลล์ ซึ่งในม้าน้ำปกติพบเซลล์ทั้งสองชนิด แต่พบจำนวนของเซลล์เมือกน้อยกว่าดังภาพที่ 4A และ 4B เซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย เมื่อนำโกนาด (gonad) ของม้าน้ำกลุ่มที่ 3 มาศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบธรรมดา พบว่าม้าน้ำกลุ่มนี้มีการพัฒนาของเซลล์สืบพันธุ์ได้เป็นปกติ พบเซลล์สืบพันธุ์ระยะต่าง ๆ ดังภาพที่ 5A ถึง 5B และเมื่อศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านไม่พบความผิดปกติของเซลล์และโครงสร้างภายในเซลล์ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/610 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
aumporn.pdf | 615.28 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น