กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/61
ชื่อเรื่อง: | การติดตามผลการปฏิบัติงานของบัณฑิตศึกษาศาสตร์ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2539 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปิยนุช คนฉลาด มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การทำงาน - - วิจัย กำลังคนระดับอุดมศึกษา - - ไทย - - วิจัย บัณฑิต - - การจ้างงาน - - วิจัย บัณฑิต - - การติดตามผล - - วิจัย มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ - - บัณฑิต - - วิจัย สาขาการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2542 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | จุดมุ่งหมายของการวิจัย เพื่อติดตามผลของการปฏิบัติงานของบัณฑิตศึกษาศาสตร์ระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีการศึกษา 2539 โดยสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตร การเรียนการสอน การจัดกิจกรรม การบริการของคณะ/มหาวิทยาลัย ประโยชน์การนำไปใช้เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบัณฑิตโดยจำแนกตามเพศ สาขาวิชา และเสนอข้อคิดเห็นในการปรับปรุงแก้ไข กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บัณฑิตศึกษาศาสตร์ผู้สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2539 จำนวน 201 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏดังต่อไปนี้ 1. ความคิดเห็นของบัญฑิตสาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทั้งเพศชายและเพศหญิงเห็นว่าหลักสูตร การเรียนการสอน การจัดกิจกรรม การบริการ และประโยชน์การนำไปใช้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน 2. ความคิดเห็นของบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์ทั้งเพศชายและเพศหญิงทั้ง 4 ด้าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้น เพศชายเห็นว่า ด้านประโยชน์การนำไปใช้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3. ความคิดเห็นของบัณฑิตคณะสังคมศาสตร์ทั้งเพศชายและเพศหญิงในด้านประโยชน์การนำไปใช้ มีความเหมาะสมอยุ่ในระดับมาก ส่วนด้านอื่นๆ มีความเหมาะสมอยุ่ในระดับปานกลาง 4. ความคิดเห็นของบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ใน 4 ด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์เห็นว่า ด้านประโยชน์การนำไปใช้มีความเหมาะสมอยุ่ในระดับมาก 5.ความคิดเห็นของบัณฑิตสาขาวิทนาศาสตร์ทั้งเพศชายและเพศหญิง แตกต่างกันในด้านประโยชน์การนำไปใช้ ส่วนด้านอื่นๆ มีความเห็นไม่แตกต่างกัน 6. ความคิดเห็นของบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์ทั้งเพศชายและเพศหญิง แตกต่างกันในด้านกิจกรรม ส่วนด้านอื่น ๆ มีคว่มเห็นไม่แตกต่างกัน 7. ความคิดเห็นของบัณฑิตระหว่างสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ในด้านหลักสูตรการสอน การจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรม และประโยชน์การนำไปใช้แตกต่างกัน ส่วนด้านบริหารมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะของบัณฑิตเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขคือ ให้คณะหรือมหาวิทยาลัยปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลง เช่นเพิ่มวิชาคอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษ ตลอดจนวิชาเลือกให้มากขึ้น การจัดกิจกรรมควรมีหลากหลายและส่งเสริมให้อาจารย์ และนิสิตเห็นความสำคัญ ในการเข้าร่วมกิจกรรมมมากขึ้น ควรปรับปรุงการจัดบริการอาหารให้ถูกสุขลักษณะ สอดส่องดูแลความปลอดภัยในหอพัก และตามจุดอื่น ๆ ภายในมหาวิทยาลัย |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/61 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2542_003.pdf | 1.12 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น