กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/605
ชื่อเรื่อง: | การหาแนวชายฝั่งทะเลโบราณบริเวณจังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | An investigation of palaeo coastal line in Chon Buri province. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธนิตย์ อินทรัตน์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง - - ไทย - - ชลบุรี ชายฝั่ง - - ไทย - - ชลบุรี ธรณีวิทยา - - ไทย - - ชลบุรี นิเวศวิทยาชายฝั่ง - - ไทย - - ชลบุรี ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนที่แสดงแนวชายฝั่งทะเลโบราณบริเวณจังหวัดชลบุรี โดยทำการวิเคราะห์ จากหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในพื้นที่ศึกษา ประกอบด้วยลักษณะสัณฐานที่แสดงถึงความเป็นชายฝั่งทะเลโบราณ ได้จากการแปลภาพถ่ายดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศด้วยสายตา และข้อมูลจากกรมทรัพยากรธรณี ลักษณะปรากฏของชั้นหินในพื้นที่ และข้อมูลจากข้อมูลวิทยาหินจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่ง ได้จากโครงข่ายโยงยึดสามเหลื่ยม ลักษณะขุดดิน ได้จากกรมพัฒนาที่ดิน และภูมินาม และหลักฐานทางโบราณคดี ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เป็นเครื่องมือในการศึกษาแนวชายฝั่งโบราณ ในพื้นที่บริเวณตอนเหนือของจังหวัด ได้รับอิทธิพลจากแม่น้ำบางประกง ทำให้พื้นที่บริเวณนี้ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม ตะกอนที่พบ เป็นตะกอนดินเหนียวจากแม่น้ำ สลับตะกอนจากทะเล ทำให้มีลักษณะแตกต่างจากพื้นที่ทางตอนใต้ของจังหวัดพบตะกอนจากทะเลทับถมกับตะกอนจากเศษหินเชิงเขา และตะกอนที่เกิดจากการผุสลายของหินฐานในพื้นที่ ซึ่งเป็นหินแกรนิตที่เกิดขึ้นมาในยุคคาร์บอนิเฟอรัสผลที่ได้รับจากการศึกษา แสดงให้ทราบว่า ระดับน้ำทะเลในสมัยโฮโลซีน เคยขึ้นบริเวณอำเภอเกาะจันทร์ และอำเภอบ่อทอง ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดชลบุรี ห่างจากแนวชายฝั่งทะเลปัจจุบัน เป็นระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร พื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ราบน้ำทะเลขึ้นถึงในอดีตและยังมีหลักฐานทางโบราณคดีแสดงถึงชุมชนชายทะเลยุคก่อนประวัติศาสตร์ อยู่ที่อำเภอบ้านโคกพนมดี อำเภอพนัสนิคม ในขณะที่ทางตอนใต้ของจังหวัดชลบุรี น้ำทะเลได้รุกล้ำเข้ามาเป็นระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้ ถูกควบคุมด้วยลักษณะของหินฐานในพื้นที่และไม่ได้รับอิทธิพลจากแม่น้ำ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/605 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2566_096.pdf | 3.74 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น