กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/597
ชื่อเรื่อง: | ผลของสารสกัดหยาบจากใบบัวหลวงต่อหลอดเลือดเอออร์ตาที่แยกจากหนูขาวที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและหนูขาวที่มีความดันโลหิตปกติ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of crude leaf extract of nelumbo uncifera gaertn on isolated aorta derived from hypertensive and normotensive rats |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จันทรวรรณ แสงแข เพชรรัตน์ ตรงต่อศักดิ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ความดันเลือด ความดันเลือดสูง บัวหลวง - - ใบ หลอดเลือดแดง สารสกัดจากพืช หนูขาว |
วันที่เผยแพร่: | 2548 |
สำนักพิมพ์: | คณะสหเวชศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ตามการแพทย์ทางตะวันออก ตามการแพทย์ทางตะวันออกได้ใช้ใบบัวหลวง Nelumbo nucifera Gertn. (N. nucifera) เพื่อเป็นยาบำรุงสุขภาพ ลดความดันโลหิต แต่ยังขาดหลักฐานการตรวจสอบกลไกการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในหลอดเลือด วัตถุประสงค์ของการทดลองครั้งนี้เพื่อศึกษาฤทธิ์ขยายหลอดเลือดและกลไกการออกฤทธิ์เบื้องต้นของสารสกัดใบบัวหลวง N. nucifera (NN) ต่อหลอดเลือดเอออร์ตาที่แยกจากหนูขาวที่มีความดันโลหิตปกติและหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เป็นความดันโลหิตสูง โดยการตีบหลอดเลือดที่ไตข้างซ้าย วิธีการทดลอง นำหลอดเลือดจากหนูทั้งสองกลุ่มมาแขวนไว้ในหลอดแก้วเลี้ยงเนื้อเยื่อ และเหนี่ยวนำให้หลอดเลือดหดตัวด้วย phenylephrine (α1 – adrenergic receptor agonist) ขนาด sub-maximal dose จากนั้นให้สารสกัดใบบัวหลวงแบบ cumulative dose (10-100 ug/ml) ผลการทดลองพบว่า NN สามารถทำให้หลอดเลือดคลายตัวแบบ dose-dependent ทั้งสองกลุ่ม โดยทำให้หลอดเลือดคลายตัวได้ 85.39 ± 4.5% และ 83.8 ± 5.8% ในกลุ่มความดันโลหิตปกติและกลุ่มความดันโลหิตสูงตามลำดับ นอกจากนี้พบว่า L-NAME (nitric oxide synthase inhibitor, 100 uM) สามารถยับยั้งฤทธิ์ของ NN โดยทำให้หลอดเลือดคลายตัวได้ 28.46 ± 7.25% และ 51.52 ± 23.29% ในกลุ่มความดันโลหิตปกติและกลุ่มความดันโลหิตสูงตามลำดับ แสดงว่าฤทธิ์ในการทำให้หลอดเลือดคลายตัวของ NN ส่วนหนึ่งเกิดผ่านทาง nitric oxide (NO) โดยประสิทธิภาพของ L-NAME ในกลุ่มความดันโลหิตปกติมากกว่ากลุ่มความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัยทางสถิติ (p < 0.05) แสดงให้เห็นว่าน่าจะมีการเสื่อมของ endothelium ในภาวะความดันโลหิตสูง เมื่อให้ NN ร่วมกับ propranolol (β-adrenergic receptor antagonist, 50 uM) หรือ atropine (muscarinic receptor antagonist, 1 uM) พบว่าไม่สามารถยับยั้งฤทธิ์คลายหลอดเลือดของ NN ได้ในทั้งสองกลุ่ม ในกลุ่มความดันโลหิตปกติหลอดเลือดที่ปราศจาก endothelium ตอบสอนงต่อ NN ได้น้อยกว่าหลอดเลือดที่มี endothelium (45.33 ± 11.53% vs 16.45 ± 3.24%, p< .05) ผลการทดลองครั้งนี้สรุปได้ว่า NN มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด ซึ่งน่าจะเป็นกลไกในการออกฤทธิ์ลดความดันโลหิต ฤทธิ์ขยายหลอดเลือดของ NN นั้นมีกลไกเป็นทั้งแบบ endothelium-dependent และ endothelium-independent โดยแบบ endothelium-dependent นั้นส่วนหนึ่งเกิดผ่านทาง NO The leaf of nelumbo nucifera Gertn. (N. nucifera), an oriental herbal medicine, has been shown to improve health well-being and posses antihypertensive effects. Its vascular effect has not yet been studied. The purpose of this study is to investigate the potential vasorelaxant activity and mechanisms of leaf extract of N. nucifera (NN) in isolated aortic rings from normotensive and hypertensive rats induced by constriction of left renal artery. Thoracic aortic rings isolated from both groups of rats were placed in organ baths and constricted with a sub-maximal dose of phenylephrine (α1 – adrenergic receptor agonist). Then, the relaxant responses to cumulative concentration of NN (10-100 up/ml) were examined. NN-induced concentration-dependent relaxation was observed in aortic rings of normotensive and hypertensive rats in a similar degree (85.39 ± 4.5% and 83.8 ± 5.8% respectively). In the presence of L-NAME (nitric oxide synthase inhibitor, 100 uM), the vasorelaxant effects of NN in normotensive and hypertensive aorta were significantly attenuated to 28.46 ± 7.25% and to 51.52 ± 23.29% respectively, suggesting that the relaxation is partially mediated via nitric oxide (NO). The inhibition effect of L-NAME was significantly greater in normotensive rings than in hypertensive ones (p < 0.05), thereby indicating an endothelium impairment in hypertensive state. Both propranolol (β-adrenergic receptor antagonist, 50 uM), and atropine (muscarinic receptor antagonist, 1 uM) showed no significant effect on NN-induced relaxation in both groups. In comparison to the intact endothelium ones. The denuded endothelium rings from normotensive rats showed significantly smaller vasorelaxant responses to NN (16.45 ± 3.24% vs 45.33 ± 11.53%, P< 0.05). In conclusion, these results show that NN can produce vasorelaxation, which may account for its antihypertensive action. The effects of NN are both endothelium-dependent and endothelium-independent mechanisms, and the former may be mediated through NO. |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/597 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2566_024.pdf | 815.73 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น