กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/587
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาวิธีการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลากะพงขาวด้วยวิธีแช่เย็น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of short-term chilled storage technique of seabass (lates calcarifer) milt
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ปลากระพงขาว - - น้ำเชื้อ
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิธีการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลากะพงขาวด้วยวิธีแช่เย็น โดยทำการศึกษาแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน โดยขั้นตอนแรกทำการศึกษาถึงสูตรน้ำยาที่เหมาะสมที่สุดในการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลากะพงขาวแบบแช่เย็น จากการศึกษาพบว่าการเก็บรักษาแบบแช่เย็นในน้ำยา Ringer's solution ในอัตราส่วน 1:1 สามารถเก็บรักษาน้ำเชื้อได้นานที่สุด 7 วัน รองลงมาคือ น้ำยาสูตร Marine solution และ Modified Ca Free HBSS ที่เก็บรักษาน้ำเชื้อได้นาน 5 วัน ในขั้นตอนที่ 2 ทำการประเมินความสามารถในการปฏิสนธิกับไข่ของน้ำเชื้อแช่เย็น โดยพบว่าน้ำเชื่อปลากะพงขาวแช่เย็นในน้ำยา Ringer's solution เป็นระยะเวลา 2 วัน มีประสิทธิภาพในการปฏิสนธิกับไข่และมีอัตราการฟักเท่ากับ 66.1 ± 6.2 และ 56.4 ± 2.9% ตามลำดับซึ่งไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05) กับน้ำเชื้อสดที่มีค่าเท่ากับ 785.1 ± 5.8 และ 68.6 ± 4.9% ตามลำดับต่อมาในขั้นตอนที่ 3 ได้ศึกษาผลของยาปฏิชีวนะ Penicillin-Streptomycin (PS) ความเข้มข้น 0.1, 1.0 และ 2.0% (v/v) ต่อการเก็บรักษาน้ำเชื้อแบบแช่เย็น พบว่าการเติมน้ำยาแบบปฏิชีวนะ PS ความเข้มข้น 0.1 %(v/v) มีความเหมาะสมในการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลากะพงขาวแบบแช่เย็นมากที่สุด เนื่องจากสามารถเก็บรักษาน้ำเชื้อได้นานถึง 9 วัน โดยเปอร์เซ็นต์สเปร์มที่มีชีวิต (37.17 ± 2.04%) และเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนที่ (15.00 ± 10.00%) มีค่าสูงกว่าชุดการทดลองอย่างอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) รวมทั้งการเติมยาปฏิชีวนะ PS ความเข้มข้น 0.1% (v/v) สามารถลดปริมาณแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรปเหลือ 2.32 ± 0.04 x 103 CFU/mL ซึ่งน้อยกว่าชุดควบคุม (3.90 ± 0.03 x 103 CFU/mL) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ณ วันสุดท้ายของการทดลอง และในขั้นตอนสุดท้ายเป็นการประยุกต์ใช้สารสกัดสมุนไพรไทย 10 ชนิด ได้แก่ เหง้าขมิ้นชัน เหง้ากระชายดำ เหง้าไพล ใบฝรั่ง ฟ้าทะลายโจร ใบมะรุม เหง้าขมิ้นเครือ ต้นใต้ใบ เหง้ากระชายและผลมะระขี้นก ในการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลากะพงขาวจากการศึกษาพบว่าการใช้สารสกัดเหง้าไพร เหง้ากระชายดำ ใบมะรุมและใบฝรั่งมีประสิทธิภาพในการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลากะพงขาวได้ดีกว่าสารสกัดชนิดอื่นและใกล้เคียงกับการใช้ยาปฏิชีวนะ PS ความเข้มข้น 0.1% (v/v) จากการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลากะพงขาวแบบแช่เย็นด้วย Ringer’s solution ร่วมกับการเติมยาปฏิชีวนะ PS 0.1% (v/v) หรือการเติมสารสกัดเหง้าไพล เหง้ากระชายดำ ใบมะรุมและใบฝรั่งเป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมในการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลากะพงขาว ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขันในด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจของประเทศไทยให้มีคุณภาพสูงและยั่งยืนต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/587
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น