กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/584
ชื่อเรื่อง: | การเปรียบเทียบความต้องการและการรับรู้ด้านการสนับสนุนทางสังคมในการลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของสตรีวัยรุ่น |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A Comparision of Needs and Perceived Social Spport Related Reduction of Sexual Risk Behaviors in Female Teenagers. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ตติรัตน์ สุวรรณสุจริต วิไลพรรณ สวัสดิ์พาณิชย์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | วัยรุ่น - - พฤติกรรมทางเพศ - - วิจัย วัยรุ่น - - ไทย - - พฤติกรรมทางเพศ สตรี - - ไทย - - ภาวะสังคม เพศสัมพันธ์ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2548 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความต้องการและการรับรู้ด้านการสนับสนุนทางสังคมในการลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของสตรีวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีวัยรุ่นที่กำลังศึกษาภาคปกติ ในสถานศึกษาสังกัดภาครัฐบาล เขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และเลือกการสุ่มตัวอย่างจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามความต้องการและการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมในการลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของสตรีวัยรุ่น ความเชื่อมันของแบบสอบถามความต้องการการสนับสนุนทางสังคมในการลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของสตรีวัยรุ่น เท่ากับ .87 และการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมในการลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของสตรีวัยรุ่นเท่ากับ .88 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า (t-test) ผลการวิจัยมีดังนี้ 1.สตรีวัยรุ่นต้องการการสนับสนุนทางสังคมในการลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านข้อมูลข่าวสารและด้านวัตถุ สิ่งของ การเงิน แรงงาน และบริการ ที่ต้องการในระดับปานกลาง 2.สตรีวียรุ่นรับรู้การสนับสนุนทางสังคมในการลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นด้านอารมณ์ และด้านการประเมินพฤติกรรมรับรู้ในระดับมาก 3.คะแนนเฉลี่ยของความต้องการและคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมในการลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของสตรีวัยรุ่นโดยรวมและรายด้าน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยความต้องการมากกว่าคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมในการลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ยกเว้นด้านการประเมินพฤติกรรม พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนพัฒนาการดูแลสตรีวัยรุ่นเพื่อลดความเสี่ยงทางเพศที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมต่อไป |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/584 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2567_136.pdf | 10.34 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น