กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/58
ชื่อเรื่อง: | การประเมินประสิทธิภาพการเรียนการสอนของอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ตามกรอบการประกันคุณภาพของทบวงมหาวิทยาลัย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Evaluation teaching efficiency of instructors in the Graduate School of Education, Burapha University as quality assurance conceptual framework, Ministry of University Affairs |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จันทร์ชลี มาพุทธ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การสอน - - การประเมิน ประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ - - การศึกษาและการสอน (บัณฑิตศึกษา) มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ - - อาจารย์ อาจารย์มหาวิทยาลัย สาขาการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2545 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพการเรียนการสอนของอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และเสนอแนวทางการพัฒนาเกี่ยวกับประสิทธิภาพการเรียนการสอนตามกรอบการประกันคุณภาพของทบวงมหาวิทยาลัย งานวิจัยนี้ใช้วิธีการศึกษาเอกสาร ศึกษาโดย การใช้เทคนิคสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา 6 ภาควิชา ๆ ละ 3 คน และสัมภาษณ์เชิงลึก (Indept Interview) อาจารย์ จำนวน 10 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ประสิทธิภาพการเรียนการสอนของอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา ตามความคิดเห็นของนิสิต ที่ควรปรับปรุงมากที่สุด ได้แก่ วัตถุประสงค์และเนื้อหาวิชา รองลงมาได้แก่ การจัดการเรียนการสอนทั่วไปและความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และนิสิต ตามลำดับ 2. ประสิทธิภาพการเรียนการสอนของอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา ตามความคิดเห็นของอาจารย์ที่ควรปรับปรุงมากที่สุด ได้แก่ วัตถุประสงค์และเนื้อหาวิชา รองลงมาได้แก่ บุคลิกภาพและความรับผิดชอบและความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และนิสิต ตามลำดับ 3. แนวทางการพัฒนาเกี่ยวกับประสิทธิภาพการเรียนการสอนตามกรอบการประกันคุณภาพของทบวงมหาวิทยาลัย ได้แก่ 3.1.1 ควรมีการประเมิน พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร 3.1.2 ควรจัดหลักสูตรให้สอดคล้องกับผู้เรียน 3.1.3 ควรจัดหลักสูตรให้ผู้เรียนได้นำไปประยุกต์ใช้และมีความยืดหยุ่น 3.2 อาจารย์ 3.2.1 สัดส่วนอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ที่เหมาะสม 3.2.2 มีพัฒนาการความรู้ใหม่ ๆ ให้อาจารย์อย่างต่อเนื่อง3.2.3 มีการกำหนดเวลานัดหมายปรึกษาวิทยานิพนธ์อย่างชัดเจน 3.2.4 ควรมีการจ้างอาจารย์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ3.2.5 สนับสนุนให้ทุนเสนอผลงานวิจัยในต่างประเทศ 3.3 กระบวนการเรียนการสอน 3.3.1 มีแผนการสอนในรายวิชาที่สอน 3.3.2 มีการประเมินประสิทธิภาพการสอน 3.3.3 มีการปรับปรุงการสอนตามผลการประเมิน 3.3.4 มีการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3.3.5 มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยของอาจารย์และนิสิตไปใช้ในโรงเรียนและชุมชน 3.3.6 มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย 3.4 นิสิต 3.4.1 ควรมีการเผยแพร่ตีพิมพ์บทความวิจัยของนิสิต 3.4.2 ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมทางวิชาการให้นิสิต 3.4.3 ควรวิจัยติดตามนิสิตที่จบไปแล้วเพื่อนำมาปรับปรุงหลักสูตรต่อไป 3.5 การวัดและการประเมินผล 3.5.1 ควรมีการปรับปรุงเครื่องมือและวิธีการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของรายวิชา 3.5.2 การวัดควรคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างผู้เรียน 3.5.3 ควรมีการประเมินผลตามสภาพจริง 3.6 ปัจจัยเกื้อหนุน 3.6.1 ควรจัดสถานที่ที่สืบค้นข้อมูลสำหรับอาจารย์และนิสิตอย่างเพียงพอ 3.6.2 อุปกรณ์สื่อการสอนควรมีความทันสมัย 3.6.3 จัดเอกสารการค้นคว้าให้เพียงพอ 3.6.4 ควรมีฐานข้อมูลงานวิจัยของนิสิตและฐานข้อมูลประวัติและผลงานของอาจารย์แสดงบนระบบเครือข่ายให้นิสิตได้ศึกษาเรียนรู้ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/58 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2545_003.pdf | 5.23 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น