กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/575
ชื่อเรื่อง: การศึกษาแหล่งพลังงานทดแทนจากคลื่นในบริเวณทะเลอันดามันโดยใช้แบบจำลองเชิงตัวเลข
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of ocean current energy in the andaman sea using a numerical ocean model
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธเนศร์ โรจน์ศิรพิศาล
นิติมา อัจฉริยะโพธา
อุษา วรรณสิงห์ ฮัมฟรี่
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: การถ่ายเทพลังงาน
คลื่นทะเล - - ทะเลอันดามัน - - แบบจำลอง
พลังงานทดแทน - - แบบจำลอง - - ทะเลอันดามัน
สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: พลังงานน้ำมันซึ่งเป็นพลังงานหลักที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะหมดไปทำให้พลังงานน้ำมันมีราคาสูงขึ้น การหาแหล่งพลังงานทดแทนจึงมีความจำเป็นเพื่อใช้ทดแทนพลังงานน้ำมันในอนาคต ในงานวิจัยนี้ต้องการศึกษาหาประสิทธิภาพของแหล่งพลังงานงานจากคลื่นในทะเลอันดามัน โดยใช้แบบจำลองเชิงตัวเลขทางทะเลสำหรับคลื่นในบริเวณใกล้ชายฝั่ง ระหว่างช่วงปี ค.ศ. 2000 – 2009 ผลการวิจัยพบว่าปริมาณการถ่ายเทพลังงานระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึง สิงหาคม จะมีค่าสูงโดยมีปริมาณการถ่ายเทพลังงานสะสมสูงสุดประมาณ 0.8 m3 / s ในเดือนกรกฎาคม และทิศทางการถ่ายเทพลังงานในช่วงฤดูร้อนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับการถ่ายเทในช่วงฤดูหนาว (พฤศจิกายน ถึง มกราคม) มีทิศทางการถ่ายเทไปทางทิศใต้หรือทิศตะวันตกเฉียงใต้แต่มีปริมาณการถ่ายเทน้อยกว่าช่วงฤดูร้อน สำหรับปริมาณการถ่ายเทพลังงานในบริเวณใกล้ชายฝั่งของประเทศไทยพบว่าบริเวณที่มีปริมาณการถ่ายเทพลังงานเฉลี่ยสูงกว่า 0.055 m3 / s อยู่ในบริเวณ 96 – 97 ºE, 9 – 11 ºN และ 95.8 – 96.2 ºE, 9 – 9.3 ºN
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/575
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น