กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/57
ชื่อเรื่อง: การรับรู้ประสบการณ์การคลอดของผู้คลอดที่ได้รับการดูแลโดยนิสิตพยาบาล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Perceptions on birth experience of parturients cared by student nurses
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อุษา เชื้อหอม
ธราภรณ์ เชื้อหอม
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: การคลอด - - การดูแล
การคลอด - - การวิจัย
การคลอด
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2542
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของผู้คลอดที่ได้รับการดูแลโดยนิสิตพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้คลอดที่มาคลอดที่โรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2542 จำนวน 167 ราย เลือกตัวอย่างโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้คลอดในระยะ 2 ถึง 48 ชั่วโมงหลังคลอด โดยใช้แบบสอบภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าทีแบบหางที่ระดับความเชื่อมั่น 95 %ผลการวิจัยพบว่า คะแนนการรับรู้ประสบการณ์การคลอดโดยรวม และรายด้านทั้งสามด้าน ได้แก่ ด้านความรู้สึกต่อการดูแลที่ได้รับ ด้านความรู้สึกต่อเหตุการณ์คลอด และด้านความสามารถเผชิญภาวะเจ็บครรภ์อยู่ในระดับดี โดยจำนวนผู้คลอดที่ได้รับการดูแลโดยนิสิตพยาบาลมีการรับรู้ประสบการณ์การคลอดโดยรวมอยู่ในระดับดี ร้อยละ 99.4 ด้านความรู้สึกต่อการดูแลที่ได้รับอยู่ในระดับดี ร้อยละ 97.6 ด้านความรู้สึกต่อเหตุการณ์คลอดอยู่ในระดับร้อยละ 95.2 และด้านความสามารถเผชิญภาวะเจ็บครรภ์อยู่ในระดับดีร้อยละ 67.7 ส่วนผู้คลอดที่มีการรับรู้ประสบการณ์การคลอดแตกต่างกัน ได้แก่ ผู้คอลดครรภ์แรกกับผู้คอลดครรภ์หลัง (p<.001) ผู้คลอดที่มีระยะเวลาคลอดไม่เกิน 8 ชั่วโมง กับผู้คลอดที่มีระยะเวลาคลอดเกิน 8 ชั่วโมง (p<.001) Abstract: The purpose of this study was to describe the perception on birth experience of parturients cared by student nurses, Faculty of Nursing, Burapha University. One hundred and sixty-seven parturients were chosen by cluster random sampling. The sample was interviewed after delivery. The data was analyzed in percentage, mean, standard deviation and t-test.Results of the study revealed that 99.4% of the parturients cared by student nurses had positive birth experience. The level of birth experience in summary as well each part was positive. There was statistically significant difference of the birth experience between primiparous and multiparous (p<.001). The other was the birth experience between the parturients whose her duration of labor longer than 8 hours and not longer than 8 hours (p<.001).
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/57
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
title.pdf128.92 kBAdobe PDFดู/เปิด
chapter1.pdf179.72 kBAdobe PDFดู/เปิด
chapter2.pdf300.82 kBAdobe PDFดู/เปิด
chapter3.pdf603.58 kBAdobe PDFดู/เปิด
chapter4.pdf602.89 kBAdobe PDFดู/เปิด
chapter5.pdf113.25 kBAdobe PDFดู/เปิด
bibliography.pdf49.51 kBAdobe PDFดู/เปิด
appendix.pdf135.35 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น