กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/564
ชื่อเรื่อง: เคลือบเซรามิกส์จากเปลือกหอยนางรม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Ceramic Glaze from Oyster shells
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภรดี พันธุภากร
เสกสรรค์ ตันยาภิรมย์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: เครื่องเคลือบดินเผา - - วิจัย
สาขาปรัชญา
วันที่เผยแพร่: 2542
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเคลือบเซรามิกส์จากเปลือกหอยนางรมนี้ เป้นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อนำเปลือกหอยนางรมที่เป้นวัสดุเหลือทิ้งและกองอยู่มากมายในเขตพื้นที่ตำบลแสนสุข และตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี มาทำเคลือบเซรามิกส์ โดยการทดลองแบ่งออกเป้น 2 ส่วนคือ 1. การหาส่วนที่เหมาะสมของเปลือกหอยนางรมร่วมกับวัตถุดิบอื่น เพื่อให้ได้สูตรเคลือบพื้นฐานในการเผาที่อุณหภูมิ 1,200-1,300 องศาเซลเซียส ซึ่งการทดลองได้ดำเนินการ 3 ขั้นตอน โดยปรากฎผลการทดลองดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การทดลองผสมเคลือบด้วยวัตถุดิบ 2 ชนิด และ 4 ชนิด ดดยอัตราส่วนที่เหมาะสมของเปลือกหอยนางรมที่ถือเป้นวัตถุดิบหลักนั้น คือ 10-40 % แต่เคลือบมีความทนไฟสูงสุกตัวไม่ดีนัก ขั้นตอนที่ 2 ทดลองเคลือบด้วยด้วยเปลือกหอยนางรม 20-40% ร่วมกับวัตถุดิบอื่นที่ทำหน้าที่เป้นตัวหลอมละลายและทำให้เกิดความใสมันแวววาวในเคลือบ ซึ่งการสึกษาทดลองได้ทำการเผาที่อุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส 1,250 องศาเซลเซียส โดยกำหนดวัตถุดิบที่นำมาผสมและได้อัตราส่วนที่เหมาะสมดังนี้ -เปลือกหอยนางรม 40% -ดิน 5% -Soda Feldspar 16-44% -Zinc Oxide 6-11% -Quartz 11-39% ขั้นตอนที่ 3 ทดลองให้ได้สูตรเคลือบเปลือกหอยนางรมที่มีอัตราส่วนที่แน่นอน เพื่อนำไปเป้นสูตรเคลือบพื้นฐาน ซึ่งสูตรเคลือบเปลือกหอยนางรมนี้ มีการสุกตัวที่ดี ที่อุณหภูมิ 1,230-1,250 องศาเซลเซียส เคลือบมีผิวเรียบมัน โปร่งแสง ถึงกึ่งทึบแสงและปรากำรอยรานในบางสูตร โดยได้เลือกสูตรเคลือบพื้นฐานที่เหมาะสม จำนวน 6 สูตร คือ สูตร 1 เปลือกหอย 40, ดิน 5, Zinc O. 6 , Soda Feld. 19, Quartz. 30 สูตร 2 เปลือกหอย 40, ดิน 5, Zinc O. 6 , Soda Feld. 21, Quartz. 28 สูตร 3 เปลือกหอย 40, ดิน 5, Zinc O. 6 , Soda Feld. 29, Quartz. 20 สูตร 4 เปลือกหอย 40, ดิน 5, Zinc O. 6 , Soda Feld. 31, Quartz. 18 สูตร 5 เปลือกหอย 40, ดิน 5, Zinc O. 6 ,Soda Feld. 35, Quartz. 14 สูตร 6 เปลือกหอย 40, ดิน 5, Zinc O. 6 , Soda Feld. 37, Quartz. 12 2. การทดลองผสมสารให้สีและทึบในเคลือบ โดยนำเคลือบเปลือกหอยนางรมสูตรพื้นฐานมาผสมสารให้สีและสารทำทึบในเคลือบ ทำให้ได้สูตรเคลือบสีต่าง ๆ ซึ่งสารที่นำมาทดลองผสมคือ Ferric Oxide ให้สีน้ำตาล ทดลองในปริมาณ 1-7% Copper Oxide ให้สีเขียว ทดลองในปริมาณ 1-7% Manganese Dioxide ให้สีน้ำตาลอมเทา ทดลองในปริมาณ 1-7% Titanium ให้ทึบ ทดลองในปริมาณ 1-9% เคลือบสีและเคลือบสีทึบที่ได้มีความสวยงามและมีสีสันที่แตกต่างหลากหลายขึ้นอยู่กับปริมาณของสารให้สีและให้ทึบในเคลือบและความต่างกันของสูตรเคลือบพื้นฐาน ซึ่งในการผสมสารให้สีในปริมาณมากเกิน 5% จะทำให้เคลือบทนไฟสูง และไม่สุกตัวตามอุณหภูมิที่กำหนด ยกเว้น Ferric Oxide ซึ่งเป็นตัวหลอมละลาย ถ้าใส่ในปริมาณที่มากขึ้น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/564
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
title.pdf274.85 kBAdobe PDFดู/เปิด
chapter1.pdf127.14 kBAdobe PDFดู/เปิด
chapter2.pdf1.58 MBAdobe PDFดู/เปิด
chapter3.pdf396.78 kBAdobe PDFดู/เปิด
chapter4_1.pdf1.89 MBAdobe PDFดู/เปิด
chapter4_2.pdf3.34 MBAdobe PDFดู/เปิด
chapter5.pdf2.67 MBAdobe PDFดู/เปิด
bibliography.pdf41.32 kBAdobe PDFดู/เปิด
appendix.pdf338.79 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น