กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/563
ชื่อเรื่อง: | การศึกษารวบรวมลวดลายไม้ฉลุแบบขนมปังขิง สกุลช่างจันทบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Study of the gingerbread motifs of Chanthaburi school |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภรดี พันธุภากร เสกสรรค์ ตันยาภิรมย์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การแกะสลักไม้ - - จันทบุรี ลายไม้ ไม้ฉลุ สาขาปรัชญา |
วันที่เผยแพร่: | 2547 |
สำนักพิมพ์: | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษารวบรวมลวดลายไม้ฉลุแบบขนมปังขิง สกุลช่างจันทบุรี เป็นการศึกษาต่อเนื่องจากโครงการศึกษาสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ในจังหวัดจันทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารวบรวม อาคารที่มีการประดับตกแต่งด้วยไม้ฉลุลาย รวบรวม คัดลอก วิเคราะห์ และจัดกลุ่มลวดลายแบบขนมปังขิง ที่ปรากฎในเขตพื้นที่จันทบุรี เพื่อการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นภาคตะวันออก ก่อนการรื้อถอนทำลาย หรือเสื่อมสภาพ และสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูล ในการเรียนการสอนทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ หรือส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษาดังกล่าว ได้ใช้ข้อมูลจากผลการศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ ในจังหวัดจันทบุรี เป็นหลักการสำรวจภาคสนามจากแหล่งสถานที่จริง โดยมีอาคารที่มีการตกแต่งด้วยลายฉลุไม้แบบขนมปังขิง จำนวน 62 หลัง หรือเป็นลวดลายไม้ฉลุ 125 แบบลาย ทำให้ทราบได้ว่าอาคารที่มีการตกแต่งด้วยลวดลายไม้ฉลุแบขนมปังขิง เป็นอาคารที่เป็นที่นิยมมาแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ถึงรัชการลที่ 6 และความนิยมลดน้อยลงในสมัยรัชกาลที่ 7 โดยอาคารส่วนใหญ่อยู่ย่านท่าหลวง และศูนย์กลางในเขตอำเภอเมือง พื้นที่ตำบลพลิ่ว อำเภอแหลมสิงห์ อำเภอขลุง และอำเภอท่าใหม่ อาคารดังกล่าวได้รับอิทธิพลตะวันตกที่แพร่เข้ามาในจันทบุรีร่วมระยะเวลาเดียวกับที่แพร่หลายในพระนคร อาคารที่่ตกแต่งด้วยลวดลายแบบขนมปังขิง จะไม่ปรากฏข้อมูลเกี่ยวกับช่าง ทราบเพียงส่วนใหญ่เป็นช่างท้องถิ่น ช่างจีน และช่างญวนและบางส่วนเป็นการสั่งซื้อไม้ฉลุลายจากพระนคร ในการตกแต่งตัวอาคารจะนิยมนำไม้ฉลุแบบขนมปังขิง ประดับตกแต่งบริเวณเหนือบานประตูแบบบานเฟี้ยม และบานหน้าต่าง ตกแต่งบริเวณคอสอง ใต้ฝ้าเพดาน ระบายชายคา ระบายชายคากันสาด-หน้าต่าง ลูกกรง ระเบียง และค้ำยันชายคา สำหรับลวดลายแบบขนมปังขิง มีทั้งตัวลายที่เกิดจากพื้นไม้ ส่วนใหญ่เป็นลายตามแนวนอน เป็นลวดลายที่มีความโปร่ง อ่อนช้อย เส้นคดโค้ง ลื่นไหล และบางส่วนเป็นแบบหงิกงอ ลักษณะลวดลายที่เด่นชัดคือลายก้านขดพันธุ์พฤกษา โดยแตกลายเป็นกิ่งก้าน ช่อดอก ช่อใบลักษณะต่าง ๆ โดยเฉพาะรูปดอกทิวลิปที่นับเป็นแบบฉบับของลายแบบขนมปังขิง อีกลักษณะหนึ่งคือ ลวดลายที่เกิดจากช่องว่าง ส่วนใหญ่จะเป็นลายในแนวตั้ง โดยฉลุเป็นช่องปิดรูปแบบต่าง ๆ และฉลุเป็นช่องเปิดที่ต้องต่อเชื่อมกับไม้แผ่นอื่นที่ฉลุแบบเดียวกัน ทั้งนี้ลายจากช่องฉลุจะเป็นลวดลายที่เกิดจากไม้ 2 แผ่น ประกอบแบบที่ฉลุซ้ายขวาเหมือนกัน และแบบที่ซ้ายขวาต่างกันหรือเป็นลายอผ่นเดี่ยว แต่นำมาจัดเรียงต่อ ซึ่งรูปแบบของช่องฉลุที่นิยม คือ รูปลูกน้ำ ใบไม้ ดอกไม้สามกลีบ ดอกไม้สี่กลีบ รูปดอกจิก หยดน้ำ หัวใจ และดอกรูปทิวลิป โดยส่วนใหญ่เมื่อประกอบลายแล้ว จะมีลักษณะเหมือนช่ออุบะแบบต่าง ๆ คั่นด้วยลายอื่น นอกจากนี้บางส่วนยังปรากฎรูปสัญลักษณะที่มีความสำคัญในสังคมอดีตแทรกอยู่ในลวดลาย ได้แก่ ตัวอักษร ตัวเลข รูปธงชาติ และรูปพานรัฐธรรมนูญ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/563 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2567_151.pdf | 178.06 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น