กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/559
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสมชาย เดชะพรหมพันธุ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:51:57Z
dc.date.available2019-03-25T08:51:57Z
dc.date.issued2530
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/559
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบภาวะของที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยในชุมชนเมืองจันทบุรี ระยอง และพัทยา ในด้านทำเลที่ตั้งและรูปแบบการกระจาย การก่อตัว การขยายตัวและแนวโน้มทางการขยายตัว ภูมิลำเนาเดิมของผู้มีรายได้น้อยและรูปแบบของการอพยพเข้าสู่ชุมชนเมืองทั้งสาม สถานภาพทางครอบครัว ลักษระของอาคารบ้านเรือน แรงจูงใจที่ชักนำให้มีการตั้งถิ่นฐานในตำแหน่งนั้น ๆ และปัญหาที่เกิดกับชุมชนที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย วิธีการศึกษาข้อมูลได้จากเอกสาร ภาพถ่ายทางอาการ และการสัมภาษณ์ภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการทางสถิติ ค่าร้อยละ กราฟ หาแนวโน้มโดยสมการ Exponential และวิธีการทางแผนที่ ผลการศึกษา 1. ผู้มีรายได้น้อยในทั้งสามชุมชนเมืองนิยมเลือกทำเลที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้กับแหล่งงานที่ใหญ่ที่สุดของเมือง คือศูนย์กลางธุรกิจการค้าหลักของเมือง โดยมีรูปแบบการกระจายรายล้อม ศูนย์กลางธุรกิจการค้าหลักของเมืองบนพื้นที่ราบที่เป็นกรรมสิทธิของเอกชนมากที่สุด และมีความสะดวกในการเข้าออกน้อย 2. มีชุมชนผู้มีรายได้น้อยในชุมชนเมืองทั้งสามก่อตัวมาแล้วตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 2510 มีความสอดคล้อมกันมากในด้านการขยายตัวมากในช่วงระยะเวลาระหว่างปี 2525-2529 ซึ่งเป้นช่วงเริ่มโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก คาดว่าในช่วงระยะเวลาระหว่างปี 2530-2534 จะมีการเพิ่มจำนวนที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยอีก 1 เท่าตัวของจำนวนในปี พ.ศ. 2525-2529 3. ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้มีรายได้น้อยในชุมชนเมืองทั้งสาม เป็นผู้มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในจังหวัดเดียวกันกับชุมชนเมืองที่ทำการศึกษา และชุมชนเมืองทั้งสามสามารถดึงดูดผู้มีรายได้น้อยจากจังหวัดอื่น ๆ ได้มากถึงประมาณครึ่งหนึ่ง ผู้มีรายได้น้อยมีภูมิลำเนาเดิมจากภาคต่าง ๆ (เรียงลำดับตามจำนวน) คือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ มีความแตกต่างกันในความนิยมของผู้มีรายได้น้อยจากภาคต่าง ๆ ที่มุ่งเข้าสู่ชุมชนเมืองทั้งสาม และเป็นการอพยพของผู้ที่มีประสบการณ์เป็นชาวเมืองเข้าสู่ชุมชนเมืองทั้งสามมากกว่าผู้ที่มีประสบการณ์จากชาวชนบท 4. หัวหน้าครอบครัวของผู้มีรายได้น้อยในทั้งสามชุมชนเมืองมีความสอดคล้องกันดังนี้ ผู้มีรายได้น้อยส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป มีวุฒิทางการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 มีอาชีพรับจ้างแรงงาน มีขนาดของครอบครัวงเป็นขนาดกลางขึ้นไปและรายได้ต่อเดือนนั้นผู้มีรายได้น้อยในชุมชนเมืองพัทยาและจันทบุรีมีรายได้มากกว่าผู้มีรายได้น้อยในชุมชนเมืองระยองประมาณเดือนระ 1,000 บาท 5. 6. 7.ผู้มีรายได้น้อยในทั้งสามชุมชนเมือง มีปัญหาการขาดแคลน
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectคนจน - - ที่อยู่อาศัย - - จันทบุรีth_TH
dc.subjectคนจน - - ที่อยู่อาศัย - - พัทยาth_TH
dc.subjectคนจน - - ที่อยู่อาศัย - - ระยองth_TH
dc.subjectที่อยู่อาศัย - - ไทย (ชายฝั่งทะเลตะวันออก)th_TH
dc.subjectสาขาสังคมวิทยาth_TH
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบ ที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยในชุมชนเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก: จันทบุรี ระยอง และพัทยาth_TH
dc.title.alternativeComparative study of low income residential in eastern sea shore cities : chanthaburi, Rayong and Pattayaen
dc.typeResearch
dc.year2530
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น