กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/554
ชื่อเรื่อง: การประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยบูรพา.
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The evaluation of the Burapha university curiculum of the master of education degree.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กาญจนา มณีแสง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การศึกษาขั้นอุดมศึกษา - - หลักสูตร - - การประเมิน
หลักสูตร - - การประเมิน
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2533
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต หลักสูตร พ.ศ. 2533 ของมหาวิทยาลัยบูรพา วิชาเอกการบริหารการศึกษา การประถมศึกษา จิตวิทยาแนะแนว ชีววิทยา วิทยาศาสตร์ศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรในด้านต่อไปนี้ 1. ด้านโครงสร้างและเนื้อหาของหลักสูตร 2. คุณวุฒิและภาระงานของคณาจารย์ผู้สอนระดับบัณฑิตศึกษา 3. กระบวนการเรียนการสอน 4. คุณภาพของมหาบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านหลักสูตร 25 คน คณาจารย์ผู้สอนระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา 48 คน มหาบัณฑิต 149 คน ผู้บังคับบัญชาของมหาบัณฑิต 149 คน เพื่อนร่วมงานมหาบัณฑิต 149 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินหลักสูตรและแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตร จำนวน 5 ชุด ชุดที่หนึ่งสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิด้านหลักสูตร ชุดที่สองสำหรับคณาจารย์ผู้สอนระดับบัณฑิตศึกษา ชุดที่สามสำหรับมหาบัณฑิต ชุดที่สี่สำหรับผู้บังคับบัญชามหาบัณฑิต ชุดที่ห้าสำหรับเพื่อนร่วมงานมหาบัณฑิต สรุปผลการวิจัย 1. การประเมินด้านโครงสร้างและเนื้อหาสาระของหลักสูตรพบว่า โครงสร้างและเนื้อหาของหลักสูตรทั้ง 5 วิชาเอกมีจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต เหมาะสมดี รายวิชาต่าง ๆ ในหมวดวิชาพื้นฐานทางการศึกษา หมวดวิชาเอก หมวดวิชาเลือกเสรี เหมาะสมดี แต่ควรปรับปรุงหน่วยกิตปริญญานิพนธ์ 6 หน่วยกิต ให้เป็น 12 หน่วยกิต โดยลดจำนวนหน่วยกิตหมวดวิชาอื่น ๆลง เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ของทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2533 2. ด้านคุณวุฒิและภาระงานของคณาจารย์ผู้สอนระดับบัณฑิตศึกษา พบว่าคณาจารย์ผู้สอนระดับบัณฑิตศึกษาทุกวิชาเอกมีคุณวุฒิปริญญาเอก ปริญญาโทเป็นไปตามเกณฑ์ทบวงมหาวิทยาลัย วิชาเอกบริหารการศึกษา วิชาเอกการประถมศึกษา วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว คณาจารย์ผู้สอนมีวุฒิปริญญาเอกจำนวนมากกว่าปริญญาโท (6: 2, 6:2, 5:2) และมีภาระงานสอนทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท เฉลี่ยสัปดาห์ละ 11.11 ชั่วโมง ภาระงานควบคุมปริญญานิพนธ์ คณาจารย์ 5 คน เป็นกรรมการให้กับนิสิตจำนวน 5 คน วิชาเอกการบริหารการศึกษา วิชาเอกการประถมศึกษา วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว คณาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบเป็นประธานกรรมการให้กับนิสิตจำนวน 7 คน เป็นกรรมการให้กับนิสิต จำนวน 7 คน ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ นอกจากนี้คณาจารย์เขียนตำราหรือเอกสารประกอบการสอนปีละ 1 เล่ม ทำวิจัยปีละ 1 เรื่อง 3. ด้านกระบวนการเรียนการสอน พบว่าคณาจารย์ผู้สอนในระดับบัณฑิตศึกษา มีพฤติกรรมการสอนเหมาะสมเป็นครูที่ดี มีคุณลักษณะเป็นนักวิชาการ ใฝ่หาความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ และเป็นผู้ที่มีคุณธรรม แหล่งค้นคว้าทางวิชาการ ได้แก่ สำนักหอสมุดยังมีจำนวนตำราและเอกสารประกอบการเรียนการค้นคว้าจำนวนน้อยและไม่ทันสมัย มีความสะดวกในการค้นคว้าค่อนข้างน้อยในการจัดการเรียนการสอนได้ มีการควบคุมมาตรฐานของมหาบัณฑิต ดดยมีคณะกรรมการพิจารณาเค้าโครงปริญญานิพนธ์ มีบทบาทพิจารณาให้ความเห็นชอบและให้คำแนะนำการทำปริญญานิพนธ์ของนิสิต 4. มหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิตทุกวิชาเอก มีคุณภาพที่ดี มีคุณลักษณะเป็นบุคคลที่มีความสามารถในการประกอบวิชาชีพตามสาขาที่เรียนมา เป็นบุคคลใฝ่รู้เชิงวิชาการ มีคุณธรรมได้รับการยอมรับนับถือจากผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน มีความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/554
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น