กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/548
ชื่อเรื่อง: มองโลกตะวันออกผ่านวรรณกรรมของ คะวะบะตะ ยะสึนะริ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Oriental way seen through the works of Kawabat Yasunari
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นันท์ชญา มหาขันธ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: กวีนิพนธ์ญี่ปุ่น
ค่านิยม - - ญี่ปุ่น
นวนิยายญี่ปุน
วรรณกรรมญี่ปุ่น - - ประวัติและวิจัย
วรรณกรรมญี่ปุ่น - - รวมเรื่อง
วรรณกรรมญี่ปุ่น
สาขาปรัชญา
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานประพันธ์ของคะวะบะตะ ยะสึนะริ เป็นที่รู้จักดีว่า มีลักษณะเด่น ที่แสดงเอกลักษณ์ความเป็นญี่ปุ่น ตลอดชีวิตของคะวะบะตะมีช่วงเวลาวิกฤต ทั้งปัจเจกโศกนาฎกรรม และโศกนาฎกรรมของชนชาติญี่ปุ่น เมื่อครั้งพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งกระทบต่อทั้งประชาชน สังคม และวัฒนธรรมในด้านกายภาพ และจิตใจ งานเขียนของคะวะบะตะภายหลังสงครามแสดงให้เห็นถึงการหวนกลับไปนิยมศิลปวัฒนธรรมแบบญี่ปุ่นโบราณ และแนวคิดแบบตะวันออก ซึ่งเชื่อมโยงชีวิตมนุษย์กับธรรมชาติ งานวิจัยนี้ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหาวรรณกรรมของคะวะบะตะ ยะสึนะริ โดยเน้นเรื่องที่เป็นที่รู้จักจำนวน 11 เรื่อง และสังเคราะห์ประเด็นที่เป็นแนวคิดของชาวตะวันออกมานำเสนอโดยวิธีพรรณาวิเคราะห์ คาดว่าผลที่ได้จะก่อให้เกิดประโยชน์ คือทำให้ทราบทรรศนะของคะวะบะตะ ที่แสดงออกในนวนิยายของเขา เกี่ยวกับ ค่านิยม โลกทัศน์ และการดำรงชีวิตแบบตะวันออก เข้าใจโลกทัศน์ ชีวทัศน์ ค่านิยมของชาวญี่ปุ่นและชาวตะวันออกที่มีได้รับอิทธิพลจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของชาวตะวันออกอันจะเป็นประโยชน์ในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม และเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจวรรณกรรมเรื่องอื่น ๆ ของคะวะบะตะ ยะสึนะริ"
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/548
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2568_095.pdf5.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น