กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/547
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาเปรียบเทียบการสักของไทยกับของญี่ปุ่น |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | comparative study of the Thai and the Japaness tattooing |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นันท์ชญา มหาขันธ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การสัก - - ญี่ปุ่น การสัก - - ไทย สาขาสังคมวิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2540 |
สำนักพิมพ์: | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การสักเป็นเรื่องราวที่มีความลึกลับซับซ้อน และอยู่ในความสนใจของคนทั่วโลก มาเป็นเวลามาช้านาน ทั้งนี้มิใช่แต่ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น จุดมุ่งหมายของการวิจัยครั้งนี้เพื่อเป็นการศึกษาเปรียบเทียบกันระหว่างการสักของไทยและการสักของประเทศญี่ปุ่น ในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ ความมุ่งหมายของการสัก ลักษณะของการสัก รูปรอยในการสัก การใช้สัญลักษณ์ ความเชื่อ เครื่องมือที่ใช้ในการสัก กรรมวิธีในการสัก ตำแหน่งที่สัก ผู้ทำการสัก และการปฏิบัติภายหลังการสัก ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้รวบรวมมาจากตำรา เอกสาร ทั้งของไทยและของต่างประเทศ รูปรอยของการสัก และการสำรวจ การวิเคราะห์ข้อมูล กระทำการด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การสักของไทยกับของญี่ปุ่น มีความเหมือนกันในบางเรื่อง และมีความแตกต่างกันในบางเรื่อง สำหรับรายละเอียดมีปรากฏในรายงายวิจัยฉบับสมบูรณ์ ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างการสักของไทยกับการสักของญี่ปุ่นได้แก่ เรื่องความมุ่งหมายในการสักและลักษณะของการสัก การสักของไทยกระทำเนื่องจากความเชื่อเรื่องโชคลางของขลัง และพิธีกรรมต่างๆ เช่น อำนาจลึกลับ มหัสจรรย์ต่างๆ ความศักดิ์สิทธ์ โชคลาภ เมตตามหานิยม ความมีอายุยืน ความมีเสน่ห์เป็นที่รักของคนทั่วไป ความแคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งปวงตลอดจนความมีหยังเหนียว ศาสตรวุธไม่สามารถทำอันตรายได้เป็น สำหรับรูปรอยที่สักก็ได้รับการอออกแบบเพื่อความขลัง ความศักดิ์สิทธ์ เช่นกัน รูปรอยสักที่สักเหล่านี้ได้แก่คาถาและยันต์ หรือรูปอื่นๆอันได้แก่เทพเจ้า สัตว์ พืช และสิ่งของ ช่างสักบางคนผสมน้ำมันหรือสมุนไพรลงในหมึกเพื่อให้รอยสักมีความขลัง อาจารย์สักบางคนโดยเฉพาะอาจารย์ที่เป็นพระมีการบริกรรมคาถาในระหว่างการสักด้วย ทั้งนี้เพื่อให้รอบสักมีความขลัง ความศักดิ์สิทธ์ ตามต้องการ การสักของญี่ปุ่นมีเอกลักษณ์โดยเฉพาะของตนเองทั้งในด้านการออกแบบรูปรอยสักตลอดจนความละเอียดประณีตในกาวสัก จึงจัดได้ว่าเป็นงานที่มีความสำคัญระดับชาติ คำว่าการสักเป็นศิลปะที่เรียกว่า อิเระมิซึ โดยศัพท์ หมายถึง การสอดหมึก หากเป็นคำที่ดูเก่าแก่และสละสลวยกว่านั้น ใช้คำว่า โฮะริโมะโนะ หมายถึงสิ่งที่ถูกจำหลัก อันได้แก่ ผิวหนังของมนุษย์ที่ถูกจองจำรูปรอยลงไป ในญี่ปุ่นความมุ่งหมายหลักของการสักได้แก่ การประดับตกแต่งร่างกาย การสักส่วนใหญ่ไม่ส่วนจะเป็นการสักแบบเต็มตัว หรือครึ่งตัวรูปรอยที่สึกส่วนใหญ่ได้แก่เทพเจ้า วีรชนในนิยาย สัตว์ในตำนาน พืช และสิ่งของ รอยสักของญี่ปุ่นส่วนใหญ่ได้รับการออกแบบมาจากหนังสือนิยายที่ชื่อว่า ซูอิโคเดน แบะตัวละครคาบุกิทั้งนี้เพื่อแสดงค่านิยมทางจิตวิญญาณเช่นความอดทนความกล้าหาญ ความอดทนบึกบึน ความมีใจเมตตา และความซื่อสัตย์ การสักของญี่ปุ่นส่วนใหญ่มีแบบแผนและเอกลักษณ์ของตัวเอง และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางของผู้นิยมการสักทั่วโลก |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/547 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น