กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/543
ชื่อเรื่อง: ผลของสารผสมเพิ่มต่อคุณสมบัติของวัสดุจีโอโพลิเมอร์จากเถ้าถ่านหิน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of admixtures on the properties of fly ash based-geopolymer
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อุบลลักษณ์ รัตนศักดิ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: จีโอพอลิเมอร์
เถ้าถ่านหิน
สารตัวเติม
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ได้ศึกษาอิทธิพลของสารผสมเพิ่มที่มีต่อสมบัติของวัสดุจีโอโพลิเมอร์จากเถ้าลอย โดยเตรียมจีโอโพลิเมอร์จากการทำปฏิกิริยาระหว่างเถ้าลอยกับสารละลายโซเดียมซิลิเกต (Na2SiO3) และสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) 10 โมลาร์ และผสมสารผสมเพิ่มลงในจีโอโพลิเมอร์เพสต์ที่ปริมาณร้อยละ 1-2 โดยน้ำหนักของเถ้าลอย อัตราส่วนโดยมวลของ Na2SiO3/ NaOH ที่ใช้คือ 1.5 ทำการบ่มเพสต์ที่อุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48 ชั่วโมง สารผสมเพิ่มที่ศึกษาเลือกจากความรู้พื้นฐานของคอนกรีต ได้แก่ แคลเซียมคลอไรด์, แคลเซียมซัลเฟต, โซเดียมซัลเฟต และนำตาลซูโครส โดยทำการศึกษาผลของสารผสมเพิ่มที่มีต่อระยะเวลาการก่อตัว, ดัชนีการเกิดปกิกิริยา และกำลังอัด นอกจากนี้ ศึกษาโครงสร้างทางจุลภาพด้วยเทคนิค Scaning electron Microscopy (SEM) และโครงสร้างสัณฐานวิทยาของวัสดุจีโอโพลิเมอร์ด้วยเทคนิค X-ray powder diffraction (XRD) ผลการศึกษาพบว่าสารผสมเพิ่มที่เร่งการก่อตัวระยะปลายแก่จีโอโพลิเมอรื ได้แก่ แคลเซียมคลอไรด์ และแคลเซียมซัลเฟต ในขระที่ซูโครสให้การก่อตัวระยะปลายที่นานขึ้น สำหรับโซเดียมซัลเฟต พบว่ามีผลเล็กน้อยต่อการก่อตัวระยะปลาย นอกจากนี้ปริมาณสารผสมเพิ่มที่ร้อยละ 1 โดยน้ำหนักของเถ้าลอย ให้ค่ากำลังอัดสูงกว่าสารผสมเพิ่มที่ร้อยละ 2 นอกจากนี้จากการศึกษาจีโอโลลิเมอร์ที่ผลิตด้วยเทคนิค SEM และ XRD แสดงให้เห็นว่าจีโอโพลิเมอร์เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างจุลภาคและสัณฐานวิทยา ที่สอดคล้องกับค่าดัชนีการเกิดปฏิกิริยา
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/543
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น