กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/542
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorเรณา พงษ์เรืองพันธุ์th
dc.contributor.authorประสิทธิ์ พงษ์เรืองพันธุ์th
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:51:55Z
dc.date.available2019-03-25T08:51:55Z
dc.date.issued2540
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/542
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพอนามัยความสามารถในการดูแลตนเอง และความต้องการสนับสนุนจากทางราชการและชุมชนของผู้ป่วย โรคเอดส์ ตลอดจนเปรียบเทียบในกลุ่มที่มีระดับการศึกษาและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน เพื่อหาค่าปฏิสัมพันธ์ และความแตกต่างในกลุ่มตัวแปรต้น กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเอดส์ที่มารับบริการในคลินิกนิรนามทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชนในจังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง จำนวน 100 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่พัฒนาจากแนวคิดของโอเร็ม (Orem) ซึ่งมีค่าความเที่ยงสูงกว่า .75 ในทั้ง 3 เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ตัวแปรความแปรปรวนพหุนามแบบสองทาง (two-way MANOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง (two-way ANOVA) และการวิเคราะห์ค่าจำแนกตัวแปรด้วยวิธี Discriminant Analysis ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการดูแลตนเอง ความสามารถในการดูแลตนเอง และความต้องการสนับสนุนจากทางราชการและชุมชนของผู้ป่วยโรคเอดส์ อยู่ในระดับ "มาก" และไม่พบว่ามีปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับการศึกษาและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน รวมทั้งไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องพฤติกรรมการดูแลตนเอง ความสามารถในการดูแลตนเอง และความต้องการสนับสนุนจากทางราชการและชุมชนในกลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน นอกจากนั้นยังพบอีกว่า ผู้ป่วยโรคเอดส์ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความสามารถในการดูแลตนเอง และความต้องการสนับสนุนจากทางราชการและชุมชนไม่แตกต่างกัน แต่ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์ที่รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพอนามัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มผู้ป่วยที่มีรายได้น้อยกว่า 5,000 บาท มีการดูแลตนเองดีกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,000 บาทขึ้นไป ดังนั้นผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรเพิ่มการสนับสนุนให้ผู้ป่วยโรคเอดส์มีการพัฒนาขีดความสามารถในการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณ แผ่นดินประจำปี 2539en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการดูแลสุขภาพด้วยตนเองth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.subjectโรคเอดส์ - - การดูแลth_TH
dc.subjectโรคเอดส์ - - ผู้ป่วย - - การดูแลth_TH
dc.subjectโรคเอดส์ - - ผู้ป่วยth_TH
dc.titleพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเอดส์th_TH
dc.title.alternativeSelf-care behavior of the AIDs patientsen
dc.typeResearch
dc.year2540
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to identify the extent of self-care behavior, self-care agency, and the demands of AIDS patients related to government and community support, and to examined the relationship of self-care behavioe, self-care agency, and demands of AIDS patients on the selected background variables among AIDS patients. The subjects for this study consisted of AIDS patients who attend the innominious clinic of government and non government agency in Chonburi, Chachoengsoa, and Rayong province. Data were collected on personal backgroud, self-care behavior, self-care agency, and demands of support by means of a questionnaire which was used to collect 100 patients. Data were analyzed by frequencies, percentage, arithmetic mean, standard deviation, two-way MANOVA, two-way ANOVA, and Discriminant Analysis Self-carebehavior, self-care agency, and demands of support were in "high" level. The extents of self-care behavior, self-care agency, and demands of support were investigated to determine if there is difference between the two levels of AIDS patients related to education and monthly income. A two-way MANOVA was performed; there was a nonsignificant interaction between education and monthly income. The study found that there was no significant difference between two groups of education of AIDS patients related to self-care behavior, self-care agency, and demands of support. In addtion, there was no significant difference between two groups of monthly income of AIDS patients related to self-care agency, and demands of support. But, the study found that monthly income of AIDS patients was significant difference (p<.05) related to self-care behavior. The mean for the 5,000 bath or less level was significantly greater than the mean for the more than 5,000 bath level. Administrators and related personnel need to consider way in which to elf-care behavior that contribute to effecting positive change in AIDS patients.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_113.pdf4.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น