กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/53
ชื่อเรื่อง: | การติดตามคุณภาพบัณฑิต รุ่นปีการศึกษา 2546 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Follow-up study of 2004 graduates of Burapha University |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ฉันทนา จันทวงศ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การทำงาน กำลังคนระดับบัณฑิตศึกษา - - ไทย บัณฑิต - - การจ้างงาน มหาวิทยาลัยบูรพา. บัณฑิตวิทยาลัย - - บัณฑิต สาขาการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2546 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยสถาบันของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา มีจุดมุ่งหมายเพื่อการติดตามสถานภาพการทำงานของผู้สำเร็จการศึกษารุ่นปีการศึกษา 2546 เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้สำเร็จการศึกษาต่อหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนและการอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน และเพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพในการทำงานในทรรศนะของหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงานของผู้สำเร็จการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ชุด คือ ชุดที่ 1 แบบสำรวจสถานภาพการทำงานของผู้สำเร็จการศึกษา ชุดที่ 2 แบบสำรวจความคิดเห็นต่อหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนรวมทั้งการอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน ชุดที่ 3 แบบสอบถามความสามารถและ คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาในการปฏิบัติงาน การเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้สำเร็จการศึกษาใช้การเก็บข้อมูลโดยตรง ในช่วงที่มีการซ้อมรับปริญญาบัตร โดยแจกแบบสอบถามให้แล้วรอรับกลับคืน การเก็บรวบรวมข้อมูลจากหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงาน โดยการส่งทางไปรษณีย์และสอดซองติดแสตมป์ให้ส่งกลับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณาคือการแจกแจงความถี่ และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ผู้สำเร็จการศึกษารุ่นปีการศึกษา 2546 ตอบแบบสอบถามร้อยละ 84.1 เป็นแบบสอบถามที่สมบูรณ์ ถูกต้องร้อยละ 84.1 สถานภาพการทำงานภายหลังสำเร็จการศึกษา มีงานทำแล้วก่อนสำเร็จการศึกษา ร้อยละ 92.3 มีผู้ที่ยังไม่ได้ทำงานเพียง 34 คน ภายหลังสำเร็จการศึกษามีงานทำเพิ่มขึ้น 25 คน ยังเหลือผู้ที่ยังไม่ได้ทำงาน 9 คน มหาบัณฑิตที่ทำงานแล้วส่วนใหญ่มีรายได้ระหว่าง 15,001-20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 25.0 ส่วนใหญ่มีอาชีพรับราชการ ร้อยละ 60.9 รองลงมาเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 17.0 ได้ทำงานที่ตรงกับสาขาที่จบมา ร้อยละ 71.1 สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับงานที่ทำอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 58.6 ระดับปานกลาง ร้อยละ 32.3 ลักษณะงานที่ทำภายหลังสำเร็จการศึกษาได้ทำงานเดิมในตำแหน่งใหม่ที่สูงขึ้น พบร้อยละ 13.8 และได้ทำงานใหม่ในตำแหน่งที่สูงขึ้น พบร้อยละ 7.5 จะเห็นได้ว่ามหาบัณฑิตได้ทำงานในตำแหน่งที่สูงขึ้น รวมทั้งงานเดิมและงานใหม่ พบร้อยละ 21.3 ความพึงพอใจต่องานที่ทำ พบว่า พึงพอใจ ร้อยละ 76.1 ในการสำรวจความคิดเห็นของผู้สำเร็จการศึกษาทุกสาขาต่อหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน ผลการศึกษาพบว่า ด้านหลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมาก 2 อันดับแรก คือเนื้อหาสาระที่เรียนตรงกับความต้องการของงาน เนื้อหาสาระที่เรียนทันสมัย ผู้สำเร็จการศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก 2 อันดับสุดท้าย คือการศึกษาดูงาน/การสร้างเสริมประสบการณ์วิชาชีพ การฝึกในห้องปฏิบัติการ/ ฝึกภาคสนาม ผู้สำเร็จการศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่า การจัดการเรียนการสอนมีความเหมาะสมในระดับมาก 2 อันดับแรกคือ การให้คำแนะนำและคำปรึกษาของอาจารย์ผู้สอน ความพร้อมของอาจารย์ผู้สอน มีความเหมาะสมมาก 2 อันดับสุดท้ายคือ ปริมาณอาจารย์ผู้สอน ลำดับวิชาที่เรียน ด้านการควบคุมวิทยานิพนธ์ ผู้สำเร็จการศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่า มีความเหมาะสมในระดับมาก 2 อันดับแรกคือ การประเมินผลวิทยานิพนธ์/งานนิพนธ์ ความเหมาะสมของการประสานงานระหว่างอาจารย์มีความเหมาะสมในระดับมาก 2 อันดับสุดท้ายคือ ปริมาณอาจารย์ผุ้ควบคุมวิทยานิพนธ์/งานนิพนธ์ การจัดอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์/งานนิพนธ์ ในประเด็นด้านการอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน มหาบัณฑิตส่วนใหญ่เห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก 3 อันดับแรกคือ บริการหอสมุดกลางของมหาวิทยาลัย สภาพทั่วไปของห้องบรรยาย บริการในการลงทะเบียนของหน่วยทะเบียน มีความเหมาะสมในระดับมาก 3 อันดับสุดท้าย ได้แก่ บริการอาหาร บริการห้องปฏิบัตการ บริการห้องคอมพิวเตอร์/เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งผู้สำเร็จการศึกษาได้ให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขด้วย ในการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาในการทำงานในทรรศนะของหัวงานและเพื่อนร่วมงานของผู้สำเร็จการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ผู้สำเร็จการศึกษามีความสามารถในการปฏิบัติงานโดยภาพรวมภายหลังสำเร็จการศึกษา ส่วนใหญ่มีความสามารถในการปฏิบัติงานในระดับมาก พบร้อยละ 75.0 โดยความสามารถในการปฏิบัติงานเปลี่ยนแปลงไปทิศทางที่ดีขึ้นร้อยละ 82.8 เท่าเดิมร้อยละ 13.8 และแย่ลงร้อยละ 1.9 ความคิดเห็นต่อความสามารถและคุณลักษณะในการปฏิบัติงานรายด้าน หัวหน้าและเพื่อนร่วมงานของผู้สำเร็จการศึกษามีความเห็นว่า ผู้สำเร็จการศึกษามีความสามารถและคุณลักษณะในระดับมาก 3 อันดับแรก ได้แก่ ความเชื่อมั่นในตนเอง ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม การปรับปรุงตนเองให้มีความก้าวหน้าและความสามารถในการรับรู้สิ่งใหม่ ความสามารถและคุณลักษณะที่จัดอยู่ในกลุ่ม 3 อันดับสุดท้าย ได้แก่ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ความรู้อย่างกว้างขวางในสาขาวิชาอื่นที่ไม่ใช่สาขาที่จบการศึกษา ในระดับบัณฑิตศึกษา ความสามารถในการใช้อินเตอร์เนต คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรทำการศึกษาความสามารถในการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษาก่อนเรียนและภายหลังสำเร็จการศึกษาเปรียบเทียบกัน เพื่อจะได้รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงในความสามารถ นอกจากนี้ยังได้เสนอแนะให้สาขาวิชา คณะ วิทยาลัย หน่วยงานบริการของ มหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับงานซึ่งได้รับความคิดเห็นของผู้สำเร็จการศึกษา ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง ระดับน้อย และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมให้ปรับปรุงแก้ไขได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขต่อไป |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/53 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2546_004.pdf | 4.03 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น