กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/519
ชื่อเรื่อง: เปรียบเทียบพฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ระดับไขมันในเลือดและดัชนีมวลกายของวัยรุ่นไทย: ในและนอกเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A comparative study of exercise behavior, eating behaviors, serum lipids, and body mass index of Thai adolescents : urban and rural areas of the Eastern Seaboard of Thailand.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อาภรณ์ ดีนาน
สงวน ธานี
วชิราภรณ์ สุมนวงศ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: การออกกำลังกาย
นิคมอุตสาหกรรม - - ไทย (ภาคตะวันออก)
บริโภคกรรม
รุ่น - - ไทย (ภาคตะวันออก)
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2544
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานในช่วงวัยรุ่น นอกจากจะส่งผลกระทบต่อวัยรุ่นทั่งร่างกายและจิตใจแล้ว ยังมีผลกระทบอย่างต่อเนื่องในวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุโดยเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังต่างๆโดยเฉพาะโรคหัวใจและหลอดเลือด อุบัติการณ์การเกิดภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานในวัยรุ่นนับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการออกกำลังกาย และปัจจัยส่งเสริมต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของสังคม เทคโนโลยี ค่านิยม และบรรทัดฐานของสังคม เป็นต้น การส่งเสริมสุขภาพจะสามารถป้องกันภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานได้เนื่องจากจะช่วยปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิต ทำให้ร่างกายมีการใช้พลังงานอย่างสมดุล การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายและเปรียบเทียบพฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมการบริโภคอาหาร รวมทั้งปัจจัยที่มีผลต่อภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานของวัยรุ่นที่อาศัยอยู่ในและนอกเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกโดยใช้กรอบแนวคิดของเพนเดอร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ซึ่งอาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา จำนวน 1,086 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2543 ถึง 31 สิงหาคม 2543 โดยใช้แบบสอบถาม ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และตรวจหาระดับไขมันในเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและดารทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 4.5 มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน วัยรุ่นที่อาศัยอยู่ในและนอกเขตนิคมอุตสาหกรรมแตกต่างกันในเรื่อง จำนวนสมาชิกในครอบครัวที่น้ำหนักเกินมาตรฐาน (p < 0.5) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว (p < 0.5) การมองโลกในด้านดี (p < .001) การรับประทานอาหารและกิจกรรมประจำวัน (p < .001) บรรทัดฐานของสังคมในการออกกำลังกาย (p < .05) และตัวแบบในการออกกำลังกาย (p < .05) โดยพบว่า วัยรุ่นที่อาศัยอยู่นอกเขตอุตสาหกรรมครอบครัวมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนสูงกว่า มีการมองโลกในด้านดีสูงกว่า มีคะแนนการรับประทานอาหารและกิจกรรมประจำวันสูงกว่าและมรคะแนนตัวแบบในการออกกำลังกายสูงกว่า ในขณะที่ วัยรุ่นที่อาศัยอยู่ในเขตนอคมอุตสาหกรรมมีจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่น้ำหนักเกินมาตรฐานจำนวนมากกว่าและมีคะแนนบรรทัดฐานของสังคมในการออกกำลังกายสูงกว่าข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย ได้แก่ การสร้างรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพสำหรับวัยรุ่นบนพื้นฐานของการมองโลกในด้านดี ตัวแบบและบรรทัดฐานของสังคมในการออกกำลังกายและสร้างเครื่องมือวัดพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/519
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_118.pdf3.99 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น