กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/514
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสงวน ธานี
dc.contributor.authorอาภรณ์ ดีนาน
dc.contributor.authorชนัดดา แนบเกษร
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:51:53Z
dc.date.available2019-03-25T08:51:53Z
dc.date.issued2549
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/514
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการให้ความหมายของความรัก ความต้องการในด้านความรัก และวิธีการเสริมสร้างความรักทางทัศนะของครู ผู้ปกครอง วัยรุ่นที่ติดสารเสพติด และวัยรุ่นที่ไม่ติดสารเสพติด ด้านการใช้วิธีการเชิงอุปมานในการดำเนินการวิจัย และใช้วิธีการสัมภาษณ์ แบบเจาะลึกเป็นวิธีหลักในการรวบรวมข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลคือ วัยรุ่นที่ติดสารเสพติดที่เข้ารับการรักษาที่สถานบำบัด จำนวน 14 คน และวัยรุ่นที่ไม่ติดสารเสพติดที่กำลังเรียนในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาจำนวน 10 คน ครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาของภาคตะวันออกจำนวน 6 คน ผู้ปกครองของเด็กวัยรุ่นที่กำลังเรียนในสถานศึกษาระดับมัธยม จำนวน 9 คน และผู้ปกครองของเด็กวัยรุ่นที่ติดสารเสพติดที่เข้ารับการรักษาที่สถานบำบัดรักษาจำนวน 9 คน ผลการศึกษาพบว่า 1. การให้ความหมายของความรักมี 7 ความหมายคือ 1) ความรักคือการให้ที่เป็นแบบมีขอบเขตและไม่มีขอบเขตซึ่งมีทั้งมิติของผู้ให้ และผู้รับ 2)ความรักคือการดูแลเอาใจใส่กันซึ่งประกอบด้วยด้านการเรียน/การศึกษา ด้านชีวิตความเป็นอยู่ ด้านสุขภาพ/ความเจ็บป่วย 3)ความรักคือการเข้าใจ มีทั้งเชิงบวกและเชิงลบ 4)ความรักคือความห่วงใย มีทั้งความห่วงใยของพ่อ แม่ พี่สาว ผู้ปกครอง (ญาติ) เพื่อน และคนรัก 5)ความรักคือความอบอุ่น ในแบบของการสัมผัสโดยตรงและทางอ้อม 6)ความรักคือความสามัคคี ปรองดองกัน ในบรรยากาศเชิงบวก และเชิงลบ และ 7)ความรักคือการเสียสละ ที่มีความเห็นทั้งแบบมีขอบเขตและไม่มีขอบเขต 2. ความต้องการด้านความรักของวัยรุ่น พบว่า มีด้วยกัน9ด้านคือ 1)ต้องการได้รับความเข้าใจและการให้อภัย 2)ต้องการการสื่อสารที่ดี พูดจาและรับฟังกัน 3)ต้องการได้รับการแสดงออกถึงความรักจากพ่อแม่ ด้วยคำพูด ด้วยการกระทำ 4)ต้องการให้คนในครอบครัวเป็นตัวอย่างที่ดี ได้แก่ ไม่ทะเลาะกัน ไม่เล่นการพนัน ไม่ดื่มเหล้าเมาสุรา และไม่ใช้เผด็จการอำนาจ 5)ต้องการมีเวลาอยู่ด้วยกันและทำกิจกรรมร่วมกันกับครอบครัว/ทั้งพ่อและแม่ กับเฉพาะพ่อ หรือ แม่ 6)ต้องการได้รับการดูแลเอาใจใส่ จากครอบครัว/พ่อแม่ จากแม่ คนรัก หรือใครสักคน 7)ต้องการได้รับการปฏิบัติจากพ่อแม่เท่าเทียมกัน 8)ต้องการมีครอบครัวที่สมบูรณ์ มีพร้อมทั้งแม่และพ่อ 9)ต้องการได้รับคำปรึกษาแนะนำ 3. วิธีการเสริมสร้างความรักมี 8 วิธีคือ 1)มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เอาใจใส่ ห่วงใย เอื้ออาทรกัน ตามความคิดเห็นของวัยรุ่นที่ใช้และวัยรุ่นที่ไม่ใช้สารเสพติด และครู 2)มีการพูดจาให้เกิดความเข้าใจในกลุ่มวัยรุ่นที่ใช้และวัยรุ่นที่ไม่ใช้สารเสพติดและครู 3)การมีเวลาให้แก่กันและกัน มีโอกาสอยู่ใกล้ชิด และทำกิจกรรมร่วมกันในวัยรุ่นที่ใช้และวัยรุ่นที่ไม่ใช้สารเสพติด 4)การมีความเข้าใจและให้อภัยแก่กัน ในทัศนะของวัยรุ่นที่ใช้และวัยรุ่นที่ไม่ใช้สารเสพติด และปัญหาของการขาดทักษะของผู้ปกครองในการเลี้ยงดูวัยรุ่น 5)มีการแสดงออกของความรักด้วยคำพูด การสัมผัส การโอบกอด เป็น4แบบคือ แบบลูก/วัยรุ่นที่มีต่อพ่อแม่/ผู้ปกครอง แบบผู้ใหญ่ที่มีต่อลูก/วัยรุ่น แบบปฏิกิริยาต่างกันและกันทั้ง2ฝ่าย และ แบบเพียงความคิดความต้องการที่ไม่เคยได้ทำ 6)มีการให้รางวัล จากครูซึ่งเป็นการสัมผัสและการชมเชย จากผู้ปกครองเป็นแบบให้คำชมเชยและ/หรือให้ของขวัญ/สิ่งของมีค่า 7)การมีความสามัคคี ปรองดองกัน และ8)การมีความรับผิดชอบตามบทบาทและหน้าที่ของตน ผลการวิจัยทำให้ได้แนวทางในการสร้างเป็นรูปแบบหรือโครงการต่างๆหรือโปรแกรมเพื่อเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการแสดงความรักต่อกันและกันได้ตรงกับสิ่งที่วัยรุ่นต้องการ เพื่อเสริมสร้างให้ครอบครัวมีแต่ความรักความอบอุ่น ส่วนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันการศึกษาพยาบาล สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาที่มีครอบครัว โดยการจัดกิจกรรมร่วมกันระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง วัยรุ่น เพื่อการเสริมสร้างให้เกิดความรัก ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันth_TH
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมารแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2548en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectคนติดยาเสพติด - - ทัศนคติ - - วิจัยth_TH
dc.subjectครูมัธยมศึกษา - - ทัศนคติ - - วิจัยth_TH
dc.subjectความรัก - - วิจัยth_TH
dc.subjectบิดามารดาและวัยรุ่น - - ทัศนคติ - - วิจัยth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleความหมายของความรักในมุมมองของครู ผู้ปกครอง วัยรุ่นที่ติดสารเสพติดและวัยรุ่นที่ไม่ติดสารเสพติดth_TH
dc.title.alternativeLove : perspectives of teachers, parents, and addicted and non-addicted adolescentsth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.year2549
dc.description.abstractalternativeThe purpose of the this qualitative study was to explore perspectives, needs and ways to promote love among voluntary participants including teachers (n=6), parent (n=9), addicted (n=14) and non-addicted (n=9) adolescents studying in high school in the Eastern part of Thailand. An inductive research method with in-depth interviews was employed to obtain the data. The results revealed the following: 1. The participants mentioned seven ways to express love: 1)love is giving with and without limits and as a giver or receiver; 2)love is talking care of each other in terms of learning or studying, everyday living, health/illness; 3)love is understanding which has both positive and negative aspects; 4)love is to be concerned about either to their mother,father,sister,parants,ralativer,friends, or lover; 5)love is warmth by means of direct and indirect touch; 6)love is harmony (unity) under both negative and positive circumstances; and 7)love is sacrifice with or without boundaries. 2.As identified by adolescents, there are nine aspects of needs regarding love: 1)the need to be understood and forgiven; 2)the need to have good communication, both talking and listening to each other; 3)the need to have their parents express love toward them through both word and action; 4)the need to have good behavior modeling from family members such as no arguments, no gambling, no drinking, and no dictatorial actions; 5)the need to have family times and shared activities with their father or mother or both parents; 6)the need to be taken care of by a family member such as their mother or father. Or by a love or friend; 7)the need to be treated equally by their parent; 8)the need to have a prefect family in which the father and mother stay together; and 9) the need to have guidance and counseling. 3.There are eight ways to promote love: 1)helping, caring for each other, and to be concerned by acknowledging addicted or non-addicted adolescents ,and teacher, opinions; 2)having good communication in order to promote understanding among addicted or non-addicted adolescents ,and teacher ; 3)having time for each other, having chances to be close and conduct activities together among groups of addicted or non-addicted adolescents ; 4) understanding and forgiving each other from the perspective of addicted or non-addicted adolescents and the problems related to tack of the skills among parents in taking care of adolescents; 5)expressing love speaking (verbal), touching, and hugging; 6)being rewarded by teachers either through touching or verbal appreciation, or by their parents through verbal appreciation and/or the giving of gifts or valuables; 7)having unity and harmony; and 8) having responsibility for their own duties. Results from this study can be used to generate ideas for the development of models or programs that would be useful in promoting the expression of love in concordance with adolescents, need, and to promote happiness and warmth the family. The knowledge obtained from this study is useful for relevant organizations such as the Ministry of Health, Ministry of Education, nursing institutions, etc. These organizations can the information from this study to develop learning and teaching activities that promote happy families by coordinating activities among schools, parents, and adolescents in order to foster love and good relationships among them.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_109.pdf10.42 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น