กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5135
ชื่อเรื่อง: | ความต้องการพัฒนาศักยภาพการทำงานของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The needs of the elderly's work efficiency development in Chonburi province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุเนตร สุวรรณละออง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การทำงาน ผู้สูงอายุ การพัฒนาตนเอง |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 2 ประการคือ เพื่อศึกษาสถานการณ์การทำงานของผู้สูงอายุวัยต้นและวัยกลางในจังหวัดชลบุรี และ 2 เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความต้องการการพัฒนาศักยภาพการทำงานของผู้สูงอายุวัยต้นและวัยกลางในจังหวัดชลบุรี ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน สุ่มตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็น แบบแบ่งชั้นแบบไม่เป็นสัดส่วน (Dispropertional Stratified Random Sampling) ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นที่เป็นสมาชิกกลุ่มผู้สูงอายุและไม่เป็นสมาชิกกลุ่มใด ๆ เลย เลือกแบบเจาะจง จำนวนทั้งสิ้น 16 คน ใช้การสัมภาษณ์เจาะลึกในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. สถานการณ์ทำงานของผู้สูงอายุวัยต้นและวัยกลาง ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ไม่ทำงาน ส่วนผู้สูงอายุที่ทำงานจะทำงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ โดยกลุ่มผู้สูงอายุวัยต้น มีอาชีพอื่น ๆ มากกว่าวัยกลาง และเหตุผลในการทำงานเพราะต้องการมีรายได้เป็นสำคัญ โดยวัยต้นมีความต้องการมีรายได้มากกว่าวัยกลาง อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุส่วนใหญ่รู้สึกไม่มีคววามสุขในการทำงาน โดยเฉพาะผู้สูงอายุวัยกลาง 2. เปรียบเทียบความต้องการพัฒนาศักยภาพการทำงานของผู้สูงอายุวัยต้นและวัยกลางในจังหวัดชลบุรี ภาพรวมพบว่าผู้สูงอายุวัยต้นและวัยกลางมีความต้องการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ทั้ง 4 ด้าน คือด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และความรู้ทักษะในการทำงาน โดยผู้สูงอายุวัยต้นต้องการพัฒนาศักยภาพการทำงานภาพรวมมากกว่าผู้สูงอายุวัยกลาง เมื่อเรียงลำดับความต้องการพัฒนาศักยภาพการทำงานของผู้สูงอายุวัยต้นและผู้สูงอายุวัยกลาง พบว่า ผู้สูงอายุวัยต้น มีความต้องการพัฒนาศักยภาพเรียงลำดับได้ดังนี้ 1. ด้านร่างกาย 2. ด้านจิตใจ 3. ด้านสังคม ด้านความรู้ทักษะในการทำงาน ส่วนผู้สูงอายุวัยกลางมีความต้องการพัฒนาศักยภาพ เรียงลำดับได้ดังนี้ 1. ด้านร่างกายและจิตใจ 2. ด้านสังคม 3. ด้านความรู้ทักษะในการทำงาน |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5135 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2566_117.pdf | 8.2 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น