กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5124
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorฌญาพัทร์ ธัญญกิจ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์th
dc.date.accessioned2023-02-13T04:01:38Z
dc.date.available2023-02-13T04:01:38Z
dc.date.issued2565
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5124
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง แนวทางในการพัฒนาเทศบาลให้เป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ เป็น การวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ หนึ่ง เพื่อศึกษาปัญหาและความจำเป็นในการปรับฐานะเทศบาลนคร แหลมฉบังเป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ สอง เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเทศบาลนครแหลมฉบังให้เป็น ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ และ สาม เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนในการพัฒนาเทศบาลให้เป็น ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้บริหาร ท้องถิ่น พนักงานข้าราชการส่วนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลนครแหลมฉบัง ผลการศึกษา พบว่า ปัญหาและความจำเป็นในการปรับฐานะเทศบาลนครแหลมฉบังเป็น ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษมี หนึ่ง ปัญหาด้านการจัดการบริการสาธารณะในเขตพื้นที่อุตสาหกรรม ท่าเรือ และชุมชน สอง ปัญหาด้านอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย และสาม ปัญหา ด้านรายได้และงบประมาณในการบริหารจัดการ แนวทางการพัฒนาเทศบาลนครแหลมฉบังให้เป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ พบว่า มี 4 แนวทาง ได้แก่ หนึ่ง รัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นอย่างแท้จริง ต้องยกเลิกการกดทับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้การบังคับแห่ง กฎหมาย และต้องให้เสถียรภาพทางการนโยบาย สอง เทศบาลนครแหลมฉบังต้องหันกลับมาสนใจ กับการผลักดันและขับเคลื่อนตนเองเข้าสู่การเป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ สาม กฎหมายและระเบียบ ต้องปรับให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับปัจจุบันและพื้นที่ และต้องให้อำนาจในการบริหาร จัดการพื้นที่ที่เพิ่มมากขึ้น และสี่ ประชาชนต้องมีความเข้มแข็งในระดับรากฐานของชุมชน และต้อง มีการรับรู้สิทธิและสิทธิพิเศษของการเป็นเมืองพิเศษ ความคิดเห็นของประชาชนในการพัฒนาเทศบาลให้เป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อปัญหาและอุปสรรคในการจัดบริการสาธารณะของเทศบาลนครแหลมฉบัง ได้แก่ ถนนชำรุดเสียหาย การจราจรติดขัด การจัดการขยะ ประชากรแฝง ชุมชนแออัด น้ำท่วมขัง สาธารณูปโภคไม่เพียงพอ มลพิษจากอุตสาหกรรมและท่าเรือ การทุจริตภายในหน่วยงาน การประชาสัมพันธ์และการกระจายข้อมูลข่าวสารที่ไม่เพียงพอ การท างานของหน่วยงานที่ล่าช้า ขาดการลงพื้นที่ดูแลประชาชนและชุมชน และงบประมาณไม่เพียงพอต่อการบริหารงานของเทศบาล นครแหลมฉบัง ส่วนผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการปรับให้เป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ คือ มีการจัดเก็บภาษีเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น การแก้ไขปัญหาของชุมชนได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้อง กับพื้นที่ การได้รับผลประโยชน์ในด้านสาธารณสุข การรองรับเศรษฐกิจและการลงทุนในอนาคต การได้รับบริการสาธารณะที่ดียิ่งขึ้น การแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างเทศบาลและประชาชนในพื้นที่ การสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาของชุมชน และการยกระดับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมภายในพื้นที่เทศบาลนครแหลมฉบังth_TH
dc.description.sponsorshipสนับสนุนโดยทุนอุดหนุนการวิจัย คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.titleแนวทางในการพัฒนาเทศบาลให้เป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษth_TH
dc.title.alternativeGuidelines for the Development of a Special Local Municipalityen
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailchayaphat@buu.ac.then
dc.year2565th_TH
dc.description.abstractalternativeThe research titled “Guidelines for the Development of a Special Local Municipality” has 3 main objectives. The first is to study the needs and obstacles in uplifting Lam Chabang municipality to be a special municipality. The second is to study ways to develop Lam Chabang municipality to be a special municipality. The third is to do a surveyon the thoughts and opinions of the public about turning Lam Chabang municipality to be a special municipality. This research is a qualitative research through using methods of analyzing primary and secondary sources. Moreover, the research methodology also includes interviews with local administrative directors, government officers of local council, and local people who resides in Lam Chabang municipality. Information derived from interviews are also used in this research. It is found that there are 3 main obstacles in uplifting Lam Chabang municipality to be a special municipality. They involve the problems in managing public services in industrial port areas and residential areas; the failure of law enforcement by legal officers; and the bad management of incomes and budgets. It is possible to conclude, through analyzing all data, that there are 4 ways in making Lam Chabang special municipality. Firstly, the government needs to give more emphasis on decentralization. Local municipality should have its own power and freedom in implementing policy without the government’s interference. Secondly, Lam Chabang municipality has to be more assertive in order to change itself to be a special municipality. Thirdly, there has to be an adjustment in law and order in complying with the change in the local community and the change in the use of land. By this, local municipality has to be given with more power in managing its local governance. Fourthly, local people, as the grass root of the community, need to be strong and united. They need to know their own rights and must be aware of their own special rights if the municipality becomes a special municipality. The survey conducted from local people points out several problems and obstacles which could be listed as damaged roads, traffic congestion, waste management, non-registered population, slums, flooding, insufficiency of infrastructure, industrial and industrial port pollution, corruptions in the local administrations, the lack of information dissemination, tardiness of local government officers in handling their works, the lack of contact between local government officers and the local people, and budget deficiency of Lam Chabang municipalityen
dc.keywordการปกครองท้องถิ่นth_TH
dc.keywordการพัฒนาเมืองth_TH
dc.keywordเทศบาลตำบลth_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2566_043.pdf2.97 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น