กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5123
ชื่อเรื่อง: การศึกษาระดับศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหารของชุมชนท่องเที่ยว ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of the Level of Food Tourism Potential for Community Based Tourism in the Eastern Region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณภา อุดมผล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: คณะการจัดการและการท่องเที่่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา
รายละเอียด: การศึกษาระดับศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหารของชุมชนท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ภาค ตะวันออก เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับศักยภาพการท่องเที่ยวเชิง อาหารในชุมชนการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก 2) เพื่อศึกษาระดับความสนใจของ นักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวเชิงอาหารในชุมชนการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก 3) เพื่อ พัฒนาเครื่องมือในการวัดระดับความสนใจต่อการท่องเที่ยวเชิงอาหาร โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล จากแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวที่เคยเดินทางไปท่องเที่ยวในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ใน เขตพื้นที่ภาคตะวันออก จ านวน 449 ชุด โดยท าการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA) เพื่อจัดกลุ่มตัวชี้วัด โดยใช้การยืนยันจากค่าสถิติของระดับการท่องเที่ยวเชิง อาหาร และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) เพื่อใช้สถิติ ตรวจสอบเครื่องมือที่ได้มาจากการวิเคราะห์องประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ของความสนใจของนักท่องเที่ยวต่อระดับการ ท่องเที่ยวเชิงอาหารของชุมชนท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกจากทั้งหมด 41 ตัวแปรสังเกต โดย ใช้ค่าน้ำหนัก (factor loading) มากเกิน 0.5 เป็นเกณฑ์ พบว่า มีเพียง 15 ตัวแปรสังเกต เป็นตัวแปร ที่คงเหลือและมีความสำคัญที่จะน าไปวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ในกระบวนการถัดไป และได้ องค์ประกอบทั้งหมด 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การท่องเที่ยวที่มองอาหารในภาพรวม (Culinary Tourism) การท่องเที่ยวแบบชนบท (Rural Tourism) การท่องเที่ยวเชิงอาหารที่เป็นการเดินทางถึง จุดหมายปลายทาง (Cuisine Tourism) และการท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gourmet) เมื่อพิจารณาค่า น้ำหนักขององค์ประกอบพบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญ การท่องเที่ยวที่มองอาหารในภาพรวม (Culinary Tourism) มากที่สุด รองลงมาเป็นการท่องเที่ยวแบบชนบท (Rural Tourism) การ ท่องเที่ยวเชิงอาหารที่เป็นการเดินทางถึงจุดหมายปลายทาง (Cuisine Tourism) และการท่องเที่ยว เชิงอาหาร (Gourmet) ตามลำดับ และเมื่อนำมาทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) เพื่อใช้ตรวจสอบเครื่องมือวัดที่ได้มาจากการวิเคราะห์อง ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิเคราะห์ได้องค์ประกอบจำนวน 4 องค์ประกอบ และมีตัวแปรที่สังเกตได้ 15 ตัว ซึ่งสอดคล้องกัน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5123
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2566_046.pdf1.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น