กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/509
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorจินตนา วัชรสินธุ์
dc.contributor.authorมณีรัตน์ ภาคธูป
dc.contributor.authorศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:51:53Z
dc.date.available2019-03-25T08:51:53Z
dc.date.issued2549
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/509
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการเสริมพลังอำนาจญาติผู้ดูแลเด็กป่วยธาลัสซีเมีย และประเมินประสิทธิผลการใช้โปรแกรมการเสริมพลังอำนาจญาติผู้ดูแลเด็กป่วยธาลัสซีเมีย ในเขตจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติผู้ดูแลเด็กป่วยธาลัสซีเมีย จำนวน 26 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม การวิจัยแบบกลุ่มเดียวชนิดทดสอบก่อนและหลังเพื่อทดสอบประสิทธิภาพโปรแกรม ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม บทบาทหน้าที่ครอบครัวของญาติผู้ดูแลในการดูแลบุตรที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย ความเครียดของการเป็นญาติผู้ดูแล และพลังอำนาจของญาติผู้ดูแล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที่ ผลการวิจัยพบดังนี้ 1. การพัฒนาโปรแกรมการเสริมพลังอำนาจญาติผู้ดูแลเด็กป่วยธาลัสซีเมีย โดยพัฒนามาจากการบูรณาการความรู้ความเชื่อเกี่ยวกับการเจ็บป่วย การปรับตัวของครอบครัว ความต้องการของครอบครัว การปฏิบัติตัวด้านสุขภาพ ผลกระทบของการเจ้บป่วยต่อเด็กแลแครอบครัว และศักยภาพการการดูแลเด็กของญาติผ็ดูแล/ครอบครัว กระบวนการสร้างพลังอำนาจของกิบสัน และแนวคิดการดูแลผู้ดูแล กระบวนการกลุ่มครอบครัว Psycho-Social Educational support program ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 1.1 การค้นหาความจริงเกี่ยวกับโครธาลัสซีเมียและการดูแลรักษา เป็นขั้นตอนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลรักษาบุตรทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ระหว่างสมาชิกกลุ่มและผ็วิจัยเสริมความรู้ใหม่ๆทำให้สมาชิกกลุ่มเกิดการเรียนรู้จากกันและกัน เกิดความเข้าใจปัญหาของเด็กธาลัสซีเมียที่ซับซ้อนและมีความหวังที่เป็นไปได้ 1.2 การพิจารณาและไตร่ตรองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในครอบครัว เกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของญาติผู้ดูแล อารมณ์ของเด็กธาลัสซีเมียและการตอบสนอง และผลกระทบต่อเด็กแลแครอบครัว โดยญาติผู้ดูแลแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สนับสนุนให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ผู้วิจัยชื้นชมในความสามารถของญาติผู้ดูแล และทำให้ญาติผู้ดูแลรู้ศึกมั่นใจในการกำหนดเป้าหมายการดูแล การจัดการอารมณ์ และประเมินปัญหาและความต้องการของตนเองและเด็กป่วยธาลัสซีเมีย 1.3 ความสามารถเป็นผู้ดำเนินการจัดการการดูแลเด็กป่วยและครอบครัว วึ่งรวมถึงด้านการดูแลเด็กป่วยและการดูแลตัวเองของญาติผู้ดูแล โดยญาติผู้ดูแลเล่าบทบาทหน้าที่ของญาติผู้ดูแล การจัดการในครอบครัว และสัมพันธภาพในครอบครัว ผู้วิจัยกระตุ้นถามและเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องทำให้ญาติผู้ดูแลมีความชัดเจนในการจัดการดูแลเด็กป่วยธาลัสซีเมีย ตระหนักถึงการดูแลตนเองมากขึ้นยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับชีวิตตนเอง บุตรและครอบครัว 1.4 ความรู้สึกมั่นใจที่จะควบคุมสถานการณ์ในการจัดการดูแลเด็กป่วยและครอบครัว และสามารถปฏิบัติกิจวัตรชีวิตตามปกติได้ โดยการทำกิจกรรม 1.4.1 การลดความเครียดส่วนบุคคลและการพิ่มความรู้สึกมีคุรค่าในตนเองโดยการเปลี่ยนความเชื่อและวิธีคิด คิดแตกต่างจากเดิม และคิดเชิงบวก การปล่อยวางและการยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ทั้งดีและไม่ดี 1.4.2 การสื่อสารความรู้สึกและความต้องการและปัญหา โดยการฝึกพพัฒนาทักษะการสือสาร เช่น การบอกความตั้งใจ ความชื่นชมและความประทับใจ เทคนิคการฟัง การถามคำถาม และการพูดเกี่ยวข้องโดยตรง ตลอดจนการจัดการกับอารมณ์ตัวเอง 1.4.3 การสื่อสารในสถานการณ์ที่ท้าทาย ฝึกทักษะการสื่อสารการดูแลรักษาเด็กป่วย ใช้เทคเนิคการขอความช่วยเหลือจากผู้ที่สนใจและมีศักยภาพที่ช่วยเหลือได้ 1.4.4 การตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลที่ยุ่งยาก ซึ่งญาติผู้ดูแลหรือครอบครัวต้องเรียนรู้และเข้าใจระยะเปลี่ยนผ่าน การจัดการตามความจริง การปล่อยวาง และการยอมรับการเปลี่ยนแปลงทั้งในระยะเริ่มต้น ระยะกลางและระยะสิ้นสุด การแบ่งหน้าที่ช่วยให้สมาชิกทุกคนได้ปฏิบัติไปในทางเดียวกัน และมองโลกในแง่ดีหรือคิดเชิงบวก 1.4.5 การสะท้อนคิดต่อโปรแกรม เป็นการประเมินโปรมแกรมและการปรับโปรมแกรมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ทำให้สมาชิกกลุ่มรู้สึกมั่นใจในการดำเนินนชีวิตครอบครัวมากขึ้น 2. การประเมินประสิทธิผลการใช้โปรแกรมการเสริมพลังอำนาจญาติผู้ดูแลเด็กป่วยธาลัสซีเมีย หลังการเข้าร่วมกิจกรรมโปรแกรมการเสริมพลังอำนาจ ญาติผู้ดูแลสามารถปฏิบัติบทบาทหน้าที่ครอบครัวในการดูแลบุตรดีขึ้น มีความเครียดของการเป็นญาติผู้ดูแลลดลง และมีพลังอำนาจสูงขึ้น และสมาชิกกลุ่มพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มมาก ต้องการให้มีการจัดกิจกกรมลักษณะนี้อีกทุกๆปี และผู้วิจัยพึงพอใจกับการจัดโปรแกรมนี้ ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิด ความเชื่อ และการปฏิบัติดูแลเด็กธาลัสซีเมียของญาติผู้ดูแล คำสำคัญ (Key words): ญาติผู้ดูแล(family caregiver) เด็กป่วยาลัสซีเมีย(Thalassemic children) พลังอำนาจญาติผู้ดูแล(Family empowerment)th_TH
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2548-2549en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการพยาบาลในเคหสถาน - - วิจัยth_TH
dc.subjectธาลัสสีเมียในเด็ก - - ผู้ป่วย - - การดูแลที่บ้าน - - วิจัยth_TH
dc.subjectผู้ป่วย - - การดูแล - - วิจัยth_TH
dc.subjectผู้ป่วยโรคเรื้อรัง - - การดูแลที่บ้าน - - วิจัยth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleการพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของญาติผู้ดูแลเด็กป่วยเรื้อรัง: กรณีศึกษาธาลัสซีเมียth_TH
dc.title.alternativeEmpowerment program development for family caregiver of chronically iii children : Thalassemiaen
dc.typeResearch
dc.year2549
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to develop and test a family empowment program for family caregivers of Thalassemic childen. The participants were 26 primary family caregivers of Thalassemic children living in Chonburi province. Individual in-depth interviews and focus groups with the family caregivers were conducted to develop the program. The questionnaires used in this study included family caregiving stress, family functioning and chil care, and family caregiver empowerment. One group pertest-post test design was perfomed to analyze the qualitative data. Mean and standard ddeviation statistics were used to describe characteristics of participants. Pair t-test was conducted to test the effectiveness of the family empowerment program. The results were as follows: 1. The Family Empowerment Program for family caregivers of Thalassemic childen consisted of stages: 1.1 "Searching realities": exchanging information and experirnces related to holistic child care among family caregivers. Researcher had a facilitator role of providing updated information. The stage helped family caregivers to understand complex child problems and have realistic expectations for their family. 1.2 "Considering and making decisions" related to family caregivers' problems and needs, children's emotions and emotional responses, and impact on Thalassemic childen and their families. This stage was to experiences and feelings and provide social support among the group members. Researcher offered commendations regarding the child care competence of family caregivers. This stage invited family caregivers to have more confidence in setting goals, emotional management of children, and assessing Thalassemic childen's health as well as their own problems and needs. 1.3 "Developing ability to manage care" for sharing information and experiences and learning from other caregivers about family caregiver's functions, family management for child care, and family relationship. The researcher asked interventive questions and provided information. The step encouraged family caregivers to clarift and realize their caregiving tasks as well as their own self-care and accepted realities about Thalassemic childen. Family caregivers developed problem solving skills, improved their child care ability, and maintained health care behaviors. 1.4 "Strengthening confidence to control family situation", by managing child care effectively, and being able to participate effectively in usual life activities: 1.4.1 Readucing personal stress and enhancing self-esteem by changing beliefs, thinking more positively, and accepting the realily of caregiving situation, and letting some good and bad things go. 1.4.2 Expressing feelings, personal needs, and problems effectively by practicing communication skills such as listening techniques, asking questions, expressing empathy and intention, praising, talking directly to relevant person, and managing emotions. 1.4.3 Communicating effectively in challenging situations by srtting limits, communicating about Thalassemic childen care, and asking for help. 1.4.4 Making tough caregiving decisions was very important for family caregivers to understand transition phase and able to manage realistic expectations, and accepting change. This step helped family members provide child care tn the same manner and remain optimistic. 1.4.5 Program reflection was to evaluate program and improve the program. This approach enhanced family caregivers' satisfisfaction and confidence in group members. 2. The effectiveness of the Family Empowerment Program was examined and the result revealed that after family caregivers participated in the program, family caregiving stress scores decreased and family functioning in child care scores and family caregiver empowerment scores increased significantly at .05 levl. Family caregivers were satisfied with their participation in the program and would like to have this program offered every year.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_141.pdf9.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น