กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/507
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorเรณา พงษ์เรืองพันธุ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:51:53Z
dc.date.available2019-03-25T08:51:53Z
dc.date.issued2537
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/507
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ผ่านการคัดเลือกประเภทการสอบร่วมเข้ามหาวิทยาลัย และประเภทโควต้า ตลอดจนศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติกับระดับชั้นปีที่ศึกษาของนิสิต ที่ผ่านการสอบคัดเลือกทั้ง 2 ประเภท และในภาพรวม ตัวอย่างประชากรที่ใช้เป็นนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชั้นปีที่ 1 ถึงปีที่ 4 ที่เรียนอยู่ในปีการศึกษา 2535 จำนวน 200 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ตามประเภทการคัดเลือกเข้าศึกษา กลุ่มละ 100 คน ทั้งสองกลุ่มมีลักษณะต่าง ๆ คล้ายคลึงกันจากการจับคู่ (Matching) ทั้งนี้คำนึงถึงสถานภาพส่วนตัวและครอบครัวของนิสิต ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพบิดา (มารดา) ระดับชั้นปีที่ศึกษา เพื่อให้ผลที่ได้เกิดจากวิธีการสอนที่ต่างกันแต่เพียงอย่างเดียว ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยคือคะแนนเฉลี่ยสะสม และทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาล ซึ่งทำการรวบรวมข้อมูลโดยแบบวัดทัศนคติต่อวิชาชีพพยาบาล และทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยวิธีการแจกแจงความถี่ และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ผ่านการคัดเลือกประเภทโควต้าในภาพรวม, ในชั้นปีที่ 3 และ 4 สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ ประเภทสอบร่วมเข้ามหาวิทยาลัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาลของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ทั้งประเภทโควต้า และประเภทสอบร่วมเข้ามหาวิทยาลัย มีทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นิสิตคณะพยาบาลศาสตร์มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพการพยาบาลโดยมีความสัมพันธ์กันทางลบกับระดับชั้นปีที่ศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งโดย สรุปรวม และประเภทการสอบร่วมเข้ามหาวิทยาลัย สำหรับนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ประเภทโควต้านั้นทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาล มีความสัมพันธ์กันทางลบกับระดับชั้นปีที่ศึกษาเช่นกัน แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก กองทุนธนาคารกสิกรไทยen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectนักศึกษา - - การสอบth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ - - การรับนักศึกษาth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ - - การสอบคัดเลือกth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ - - นักศึกษา - - ทัศนคติth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleการเปรียบเทียบทัศนคติและผลสัมฤทธิ์ของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพาที่ผ่านการคัดเลือกประเภทการสอบร่วมเข้ามหาวิทยาลัยและประเภทโควต้าth_TH
dc.title.alternativeA comparative Study of the Attitude and Achievement of the Nursing Students, Burapha University, Who are Selected by the University Entrance System and the Quota System
dc.typeResearchth_TH
dc.year2537
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the achievement and attitude of nursing students at Burapha University. The sampling studied were 200 first to fourth year nursing students in 1993. They were divided into two groups according to admission methods: Joint Higher Entrance Examination (JHEEE) and Quota System. The data used were grade point average and attitude survey form. The frequency t-test and correlation were used for data analysis. The results revealed that there was significant difference at the levels of .001 between two groups regarding achievements. The analysis showed that the second group achieved better than first group. It was however, no significant different regarding the attitude towards profession between both groups. The nursing students had positive attitude towards professional of nursing. There was a negative relationship between the attitude and years of study significantly as a whole nursing students and the group who were selected by the University entrance System.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_071.pdf4.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น