กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5065
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุภาวดี หอมอินทร์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ | th |
dc.date.accessioned | 2023-01-10T11:13:45Z | |
dc.date.available | 2023-01-10T11:13:45Z | |
dc.date.issued | 2565 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5065 | |
dc.description | โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพามีบริการด้านสาขาออร์โธปิดิกส์โดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ ปัจจุบันมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเกี่ยวกับกระดูกและข้อจำนวนมาก มีทั้งการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุส่งผลทำให้เกิดการหักของกระดูกส่วนใหญ่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อให้ร่างกายคงไว้ซึ่งการทำหน้าที่อย่างปกติและการรักษาความเสื่อมของกระดูกด้วยการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ผ่าตัดข้อสะโพก ผ่าตัดส่องกล้องเข่า ผ่าตัดส่องกล้องไหล่ และอื่น ๆ การผ่าตัดไม่ว่าส่วนใดของร่างกายจะส่งผลให้เนื้อเยื่อ บริเวณส่วนที่ผ่าตัดและบริเวณใกล้เคียงได้รับบาดเจ็บและเกิดความเจ็บปวด ซึ่งความเจ็บปวดหลังผ่าตัดกระดูกเป็นความเจ็บปวดชนิดเฉียบพลัน ชนิดเรื้อรัง หรือความเจ็บปวดที่เกิดจากเส้นประสาท (neuropathic pain) ขึ้นอยู่กับชนิดและระยะเวลาในการดำเนินของโรค ความเจ็บปวดหลังผ่าตัดกระดูก ที่มีความรุนแรงและไม่ได้รับการแก้ไขจะส่งผลทำให้การฟื้นสภาพหลังผ่าตัดช้าและเกิดผลกระทบตามมา เช่น ข้อเข่าติด กล้ามเนื้อลีบ ความสามารถในการเดินลดลง ผลของความเจ็บปวดทำให้ผู้ป่วยเกิดความไม่สุขสบาย ทั้งร่างกายและจิตใจ และมีผลต่อการฟื้นหายของสภาพร่างกาย ดังนั้นหลังการผ่าตัด จึงจำเป็นต้องมีการจัดการกับอาการปวดด้วยวิธีต่าง ๆ ทั้งโดยวิธีใช้ยาเพื่อระงับความเจ็บปวด และวิธีไม่ใช้ยา การประคบเย็น เป็นวิธีการหนึ่งที่นิยมใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดในการดูแลผู้ป่วย ตามแผนการรักษาของแพทย์จะมีค าสั่งให้ประคบเย็นหลังผ่าตัดเนื่องจากการประคบด้วยความเย็น เป็นการปรับสัญญาณความเจ็บปวดในระดับไขสันหลังซึ่งอธิบายด้วยทฤษฎีควบคุมประตู (Gate control theory) ได้ว่า ความเย็นลดการรับความรู้สึกของเส้นใยประสาทควบคุมการทำงานในการยืดและหดตัวของใยกล้ามเนื้อบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ ทำให้การส่งกระแสประสาทหรือสัญญาณความเจ็บปวดไปยังใยประสาทสั่งการที่ระดับไขสันหลังลดลงและช้าลงรวมทั้งมีผลโดยตรงต่อเส้นใยประสาทสั่งการ ทำให้มีการรับกระแสประสาทหรือจำสัญญาณความปวด ลดลงด้วย ทำให้สมองส่วนการรับรู้ความเจ็บปวดลดลงดังนั้นของพยาบาล เป็นผู้ที่มีบทบาทหลักในการดูแลผู้ป่วยให้ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องเหมาะสม และเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติเดียวกันในการประคบเย็น เพื่อส่งเสริมให้เกิดการดูแลผู้ป่วย หลังผ่าตัดและบรรเทาอาการปวดได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งคู่มือแนวปฏิบัติการประคบเย็นผู้ป่วยหลังผ่าตัดออร์โธปิดิกส์นี้จะเป็นแนวทางให้พยาบาล รวมถึงบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดออร์โธปิดิกส์ ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา สามารถดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดให้เกิดความสุขสบาย บรรเทาอาการเจ็บปวด ส่งผลให้ฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายหลังผ่าตัดได้อย่างรวดเร็ว และปราศจากภาวะแทรกซ้อน | th |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ออร์โธปิดิกส์ | th_TH |
dc.subject | กระดูก - - ศัลยกรรม | th_TH |
dc.subject | ศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ | th_TH |
dc.subject | ศัลยกรรมกระดูก | th_TH |
dc.subject | การประคบเย็น | th_TH |
dc.title | แนวปฏิบัติการประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดออร์โธปิดิกส์ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.type | Book | th_TH |
dc.author.email | suphawadi25333@gmail.com | th_TH |
dc.year | 2565 | th_TH |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | เอกสารคู่มือ (Manual Documents) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
MED_Supawadee.pdf | 2.51 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น