กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5062
ชื่อเรื่อง: | กระบวนการการดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (ColonoscopyColonoscopy) ในผู้ป่วยนัดนอนโรงพยาบาล ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พิกุล วิชาพานิช มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การส่องกล้อง การส่องตรวจทางเดินอาหาร |
วันที่เผยแพร่: | 2565 |
สำนักพิมพ์: | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
รายละเอียด: | การตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทางทวารหนักเป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัย เฝ้าระวังและรักษาโรคผู้ป่วยที่มีอาการแสดงการทำงานของระบบทางเดินอาหารผิดปกติ เช่น ท้องผูก อุจจาระร่วงเรื้อรัง ปวดท้อง อุจจาระปนมูกเลือด ตรวจพบความผิดปกติของลำไส้จากการตรวจรังสีวิทยา ซีดไม่ทราบสาเหตุ เป็นการตรวจที่ปลอดภัย สามารถตัดชิ้นเนื้อ เพื่อส่งตรวจหาความผิดปกติได้โดยไม่ต้องผ่าตัด จึงเป็นการตรวจเพื่อคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่มีประสิทธิภาพและรักษาได้รวดเร็ว การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ที่ไม่มีประสิทธิภาพ เกิดจากการเตรียมลำไส้ที่ไม่สะอาด ส่งผลให้แพทย์ไม่สามารถมองหาความผิดปกติในลำไส้ใหญ่ได้ครบถ้วน หรือไม่สามารถตัดติ่งเนื้อหรือหยิบชิ้นเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพแพทย์ต้องล้างทำความสะอาดลำไส้ใหญ่ระหว่างการส่องกล้อง เพิ่มระยะเวลาในการส่องกล้อง กรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการส่องกล้อง หรือการทำหัตถการระหว่างการส่องกล้อง เช่น ลำไส้ทะลุ ทำให้ผู้ป่วยมีอุจจาระปนเปื้อนในช่องท้อง และอาจต้องผ่าตัดเพื่อทำทวารเทียม (colostomy) คู่มือกระบวนการการดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังส่องกล้องลำไส้ใหญ่( Colonoscopy ) ในผู้ป่วยนัดนอนโรงพยาบาล ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้หอผู้ป่วยสามัญและหอผู้ป่วยพิเศษ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยนัดมาส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ได้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างมี ประสิทธิภาพ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5062 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | เอกสารคู่มือ (Manual Documents) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
MED_Pikun.pdf | 4.7 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น