กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5056
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorอุฬาริน เฉยศิริ
dc.contributor.authorนิลุบล โรจน์สัตตรัตน์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. สำนักหอสมุดth
dc.date.accessioned2023-01-09T09:12:41Z
dc.date.available2023-01-09T09:12:41Z
dc.date.issued2553
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5056
dc.descriptionงานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากเงินรายได้ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 2 ประการคือ 1) เพื่อประเมินคุณภาพบริการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้ LibQUAL +TM ปี ค.ศ. 2006 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการบริการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามกลุ่มผู้ใช้ เพศ ระดับการศึกษา ประเภทนิสิต และชั้นปี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) สอบถามถึงระดับบริการต่ำสุดที่ยอมรับได้ (Minimum-Acceptable Service Level) ระดับบริการที่พึงประสงค์ (Desire Level of Service) และระดับบริการที่ได้รับจริงจากสำนักหอสมุด (Perceived Level of Service) โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี จำนวน 348 คน นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 31 คน รวม 379 คน และอาจารย์ จำนวน 291 คน รวมทั้งสิ้น 670 คน โดยได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 485 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 72.39 สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS for Window โดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็นรายข้อและรายด้าน และทดสอบสมมติฐานการวิจัยโดยใช้ T-test และ F-test โดยนำเสนอรูปตารางประกอบความเรียงและแผนภาพ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ใช้บริการมีความคิดเห็นต่อระดับบริการต่ำสุดที่ยอมรับได้ ทุกปัจจัยอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับความคิดเห็นต่อระดับบริการที่พึงประสงค์ และระดับบริการที่ได้รับจริงอยู่ในระดับมาก 2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพบริการของสำนักหอสมุด ประกอบด้วยขอบเขตของการยอมรับ ช่องว่างของบริการที่เพียงพอ และช่องว่างของบริการระดับสูง ผลการวิเคราะห์ พบว่า ระดับบริการที่ได้รับจริงของผู้ใช้บริการของสำนักหอสมุดสูงกว่าระดับบริการต่ำสุดที่ยอมรับได้ แต่ต่ำกว่าระดับบริการพึงประสงค์ 3. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับบริการของสำนักหอสมุด จำแนกตามตัวแปรพบว่ากลุ่มผู้ใช้บริการและประเภทนิสิตที่ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพบริการของสำนักหอสมุด แตกต่างกันทุกระดับคุณภาพบริการ ส่วนชั้นปี ต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพบริการไม่แตกต่างกันทุกระดับคุณภาพบริการ ในด้านเพศชายและเพศหญิงมีความคิดเห็นต่อระดับบริการต่ำสุดที่ยอมรับได้ไม่แตกต่างกัน แต่มีความคิดเห็นต่อระดับบริการที่พึงประสงค์และระดับบริการที่ได้รับจริงแตกต่างกัน และตัวแปรระดับการศึกษาที่ต่างกันมีความคิดเห็นต่อระดับคุณภาพบริการต่ำสุดที่ยอมรับได้ ระดับบริการที่คาดหวังไม่แตกต่างกัน ส่วนระดับบริการที่ได้รับจริงแตกต่างกันth
dc.description.sponsorshipสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectบริการของห้องสมุด - - การประเมินth_TH
dc.subjectบริการของห้องสมุดth_TH
dc.subjectห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาth_TH
dc.subjectห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา - - ความพอใจของผู้ใช้บริการth_TH
dc.titleการประเมินคุณภาพบริการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้ LibQUAL+TMth_TH
dc.title.alternativeAssessing of Burapha university library service using LibQUAL+TMth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailurarin@go.buu.ac.thth_TH
dc.year2565th_TH
dc.description.abstractalternativeThis research has two research objectives: 1) to assess the service quality of Burapha University Library using LibQUAL +TM 2006 2) to compare the quality of library services at Burapha University classified by user group, gender, educational level, type students and year. This research was a survey research, asking about the lowest level of service. Minimum-acceptable service level, desire level of service and the actual level of service received from the library (Perceived level of Service) by using an online questionnaire which is a data collection tool. The samples used in the research including 348 undergraduate students, 31 graduate students, totaling 379 students, and 291 teachers. The total number of people is 670. 485 questionnaires were returned, representing 72.39 % for data analysis. The researcher uses SPSS for Window program by distributing frequency, percentage and standard deviation in each item and each side, and test the research hypothesis using t-test and F-test by presenting Tables for arrangements and diagrams. The results of the research can be summarized as follows. 1. The user has the lowest acceptable level of service. All factors are at the level Moderate for a satisfactory service level review and the level of service actually received at a high level. 2. Opinions about the library's service quality assessment consist of: scope of acceptance Sufficient service gap and high-level service gaps The results of the analysis revealed that the actual service level of the library's service users was higher. The minimum acceptable level of service but below the desired service level. 3. The results of the comparison of opinions about the services of the library classified by variable. It was found that if the service users and the types of students were different, the opinions about the service quality of Libraries were different at all levels of service quality. For the different year class, the opinions about the service quality of Libraries were not different at all levels of service quality. In males and females, the opinions on the minimum acceptable level of service was no different, but there were opinions on the level of service that was desirable and the actual level of service received was different and different educational level variables had different opinions on the level. The lowest acceptable quality of service and the expected service level was no different. However, the actual level of service was different.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2567_067.pdf3.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น