กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/502
ชื่อเรื่อง: | ความเชื่อ แบบแผนการดื่มและปัจจัยทำนายการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนไทยในเขตภาคตะวันออก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Beliefs, patterns, and predictors of alcohol drinking among Thai youthes : the eastern region |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พรนภา หอมสินธุ์ รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ปัญหาสังคม - - ไทย (ภาคตะวันออก) สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ เด็ก - - พฤติกรรม - - วิจัย เยาวชน - - การติดสุรา |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในสังคมไทยที่ก่อให้เกิดผลเสียทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเยาวชน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งบรรยายลักษณะแบบแผนการดื่มและความคิดความเชื่อเกี่ยวกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนไทย โดยใช้แนวคิดทฤษฎีอิทธิพลสามทาง The Theory of Triadic Influence (TTI) เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษา (มัธยมศึกษาปีที่ 4 ถึง 6) และนักเรียนอาชีวศึกษา (ปวช) ทั้งในสังกัดรัฐบาลและเอกชนในเขตภาคตะวันออก จำนวนทั้งสิ้น 887 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเองและการสัมภาษณ์เจาะลึกเยาวชนที่มีประสบการณ์การดื่มจำนวน 30 คน เพื่อนำมาอธิบายผลการศึกษาให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษาด้วยสถิติ multinomial logistic regression ผลการศึกษา พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มหรือไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เพศ ทัศนคติต่อการดื่ม การดื่มของเพื่อนสนิท การถูกชักชวนให้ดื่ม การคาดการณ์การดื่ม และการยอมรับการดื่มของพ่อแม่ และเมื่อพิจารณาพฤติกรรมการดื่มตามระยะต่างๆของลำดับขั้นการดื่มซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะได้แก่ (1) ระยะมั่นใจที่จะไม่ดื่ม (2)ระยะลังเลใจที่จะดื่ม (3) ระยะทดลองดื่ม และ (4) ระยะดื่มตามโอกาส ก็พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะต่างๆดังกล่าวไม่แตกต่างกันมากนัก โดยพบว่าทัศนคติต่อการดื่ม การถูกชักชวนให้ดื่ม และการยอมรับการดื่มของพ่อแม่ เป็นปัจจัยสำคัญที่พบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการดื่มในทุกระยะ นอกจากนี้ยังพบว่าการถูกชวนให้ดื่มมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนระดับการดื่มจากระยะลังเลใจที่จะดื่มไปสู่ระยะทดลองดื่ม ขณะที่ทัศนคติต่อการดื่ม การมีเพื่อนสนิทที่ดื่ม และการคาดการณ์การดื่ม มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงจากระยะทดลองดื่มไปสู่ระยะดื่มตามโอกาส สำหรับแบบแผนการดื่มและความคิดความเชื่อเกี่ยวกับดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า ส่วนใหญ่นิยมดื่มเครื่องดื่มที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ไม่สูง เช่น เบียร์ และน้ำผลไม้ผสมแอลกอฮอล์ ด้วยเหตุผลสำคัญ คือ มีรสชาติดี หาซื้อได้ง่าย และดื่มแล้วไม่มีผลกระทบภายหลังการดื่มมาก โดยมักได้เครื่องดื่มมาจากการหาซื้อตามร้านค้า ส่วนใหญ่ดื่มปริมาณไม่มาก อย่างไรก็ตามเพศชายมีการดื่มในปริมาณและความถี่มากกว่าเพศหญิง เนื่องจากเพศชายได้รับการยอมรับและเปิดโอกาสให้ดื่มมากกว่าทั้งจากสังคมและครอบครัว สถานที่ดื่มส่วนใหญ่ คือที่พักซึ่งอาจเป็นบ้านตนเอง บ้านเพื่อนหรือบ้านญาติพี่น้องเนื่องจากเชื่อว่าเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยและประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าที่อื่นๆ ผู้ที่ร่วมดื่มด้วยส่วนใหญ่ คือเพื่อน เหตุผลสำคัญที่ทำให้ดื่มคือความสุกสนานจากการเข้าสังคมและแคร์เพื่อนกลัวเพื่อนโกรธ ช่วงเวลาที่ดื่มส่วนใหญ่คือช่วงเวลาเย็นหรือกลางคืนโดยเฉพาะวันหยุดต่างๆเนื่องจากไม่มีการเรียนและสามารถรวมกลุ่มกับเพื่อนได้ ผลการศึกษาครั้งนี้จะนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจ พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนไทย อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีความเหมาะสมกับระยะการดื่มของเยาวชนเพื่อป้องกันการเริ่มต้นดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเยาวชนต่อไป Alcohol drinking remains a major public health problem that lead to several negative impacts including physical, mental, social and economic in Thai society,especially among youths. The purposes of this study were to examine the predictor of alcohol drinking and to describe patterns and beliefs of alcohol drinking among Thai youths. The triadic influrnce theory was used as a conceptual framework. The particpant of the study were secondary school students (Mathayom 4 to Matayom 6) and vocational college students (vocational certificate) both public and private schools in the eastern part of Thailand. A total sample was 887 students. Data were collected with self-administered questionnaire. In addition, indept interview was carried out by 30 students with experienced alcohol drinking in order to elaborate findings. Statistic including mean, percentage, standard deviation,and multinomial logistic regression were used to analyze data.Content analysis technique was also used. The finding of the study demonstrated that the factors related to alcohol drinking were gender,attitudes towards alcohol drinking,peer alcohol drinking,offers of alcohol drinking, prevalence estimate,and parental approval of alcohol drinking. According to alcohol drinking stages, they were classified in four stages: (1) the nonsusceptible precontemplation, (2) the susceptible precontemplation, (3) the tried, and (4) the experimentation stages. The significantly related factors were not much different at various alcohol drinking stages. Attitudes toward alcohol drinking, offer of alcohol drinking, and parental approval of alcohol drinking were significantly associated with all stages of alcohol drinking. In addition, offers of alcohol drinking was a factor related to the progression from the susceptible to the tried stage, while attitudes toward alcohol drinking, peer alcohol drinking and prevalence estimate related to the transition from the tried stage to the experimentation stages. For the patterns and beliefs of alcohol drinking, most informants drink mild ones. They are for example: beer and punch, the reason of which is it is tasty, easily available and there is not too much hangover. Alcoholic drinks are available from shops. Most of them don’t drink too much. Nevertheless men drink more in quantity and more frequent than their women counterpart. This is because male drinkers are more accepted both from the society and family. Most drink in their houses friend, or relatives’, since it is believed to be safe and saved. Most companies are friends. Social gathering making fun is an important reason for drinking. Some informants drink for fearing that their friends will get angry if they don’t. Most drinking time is in the evening or at night,especially when there is a holiday since there is no class to be attended, then social gathering is possible. The study outcome will enable the authority to understand the Thai youth drinking behavior, and could be used to develop an efficient program tailored to the alcohol drinking progression of adolescents, so as to prevent them from beginning to take alcohol drinks. |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/502 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น