กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/488
ชื่อเรื่อง: การสืบทอดภูมิปัญญาไทยและการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในวรรณกรรมเยาวชนไทยช่วง พ.ศ. 2546-2549
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The inherit Thai wisdom and the instillation of ethics in children's Thai literature during 2003-2006
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริลักษณ์ บัตรประโคน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: จริยธรรม
ภูมิปัญญาไทย
วรรณกรรมสำหรับเด็ก
วรรณกรรมเยาวชน
สาขาปรัชญา
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิเคราะห์การสืบทอดภูมิปัญญาไทย กลวิธีการสืบทอดภูมิปัญญา การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและคติสอนใจที่ปรากฎในวรรณกรรมเยาวชนไทยช่วง พ.ศ. 2546-2549 จำนวน 15 เรื่อง วิธีการศึกษาวิจัย ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาไทยวรรณกรรมเยาวชนไทยและคุณธรรมจริยธรรม จากนั้นจึงศึกษาวิเคราะห์ภูมิปัญญาไทย กลวิธีการสืบทอด การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและคติสอนใจที่สืบทอดในวรรณกรรมเยาวชนไทยช่วงดังกล่าว แล้วเสนอผลการศึกษาด้วยวิธีพรรณาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า วรรณกรรมเยาวชนไทยช่วง พ.ศ. 2546-2549 ได้สืบทอดภูมิปัญญาไทยลงในตัวบทไว้ 7 ด้าน ซึ่งภูมิปัญญาไทยที่มีการสืบทอดลงในวรรณกรรมเยาวชนมากที่สุด ได้แก่ ภูมิปัญญาไทยเกี่ยวกับวิถีความเป็นอยู่ โดยจะเน้นสืบทอดวิถีชีวิตของคนไทยในแถบชนบทเป็นหลัก ภูมิปัญญาเกี่ยวกับอาหารและสมุนไพรไทย ได้สืบทอดความรู้เกี่ยวกับอาหารพื้นบ้านของไทยใน 3 ภูมิภาค พร้อมทั้งถ่ายทอดเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการถนอมอาหารและประโยชน์ของสมุนไพรไทยในด้านต่าง ๆ ภูมิปัญญาเกี่ยวกับการละเล่นของเด็กไทย ได้ถ่ายทอดรูปแบบ วิธีการเล่น วัสดุอุปกรณ์ประกอบการละเล่นของเด็กไทยในอดีตที่เรียบง่าย พึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก และภูมิปัญญาเกี่ยวกับการสืบทอดวรรณคดีวรรณกรรมไทยสู่วรรณกรรมเยาวชน ที่มีทั้งการสืบทอดขนบเดิมด้านเนื้อเรื่อง ตัวละคร คตินิยมและฉากในวรรณคดีวรรณกรรมไทยมาโดยตรง และการตีความใหม่ สร้างใหม่ รวมทั้งการล้อเลียนขนบเดิม ส่วนภูมิปัญญาไทยที่มีการสืบทอดรองลงมา ได้แก่ ภูมิปัญญาไทยเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณีและจารีตปฏิบัติ ภูมิปัญญาเกี่ยวกับความเชื่อ พิธีกรรม และภูมิปัญญาเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ ซึ่งทั้ง 3 ด้านนี้จะสืบทอดรายละเอียดภูมิปัญญาเฉพาะบางประเด็นเท่านั้น การศึกษากลวิธีการสืบทอดภูมิปัญญาไทยพบว่า การสืบทอดภูมิปัญญาไทยจากผู้รู้สู่เยาวชน จะเน้นการสืบทอดแบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นหลัก ซึ่งมีทั้งการบอกเล่าโดยตรง การสืบทอดผ่านพิธีกรรม ประเพณีและวัฒนธรรม การปฏิบัติ และการสืบทอดผ่านความบันเทิง สำหรับการสืบทอดแบบเป็นลายลักษณ์อักษร มีปรากฎไม่มาก ในส่วนของกลวิธีที่ผู้เขียนใช้ในการนำเสนอการสืบทอดภูมิปัญญาไทย พบว่า มีการนำเสนอผ่านองค์ประกอบของงานเขียนด้านตัวละคร บทสนทนา เหตุการณ์ในโครงเรื่องและเหตุการณ์ในเนื้อเรื่อง มีการนำเสนอผ่านศิลปะการใช้ภาษาแบบบรรยาย อธิบาย และพรรณา รวมทั้งมีการนำเสนอผ่านศิลปะการเล่าเรื่อง ส่วนการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและคติสอนใจ พบว่า มีการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับเยาวชนเกี่ยวกับกระบวนการคิด การดำเนินชีวิต การอยู่ร่วมกันในสังคม ความรัก ความเอื้ออาทร ความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ การรักษาสัจจะ ความกตัญญูและความพอเพียง สำหรับคติสอนใจได้สอดแทรกคติสอนใจเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต การประพฤติปฏิบัติตนที่ดี และสัจธรรมของชีวิต เพื่อสอนใจเยาวชนเป็นหลัก จึงกล่าวได้ว่า วรรณกรรมเยาวชนไทยช่วง พ.ศ. 2546-2549 ทั้ง 15 เรื่อง มีส่วนร่วมในการสืบทอดภูมิปัญญาไทย ความเป็นไทยและปลูกฝังความดีงามให้กับเยาวชนโดยมิได้ทำให้อรรถรสของวรรณกรรมเปลี่ยนไป The purposes of this study were to study and analyze 15 works of Children's Thai literature during 2003-2006 in aspects of the inheritance of Thai wisdom and its inheritance strategies, and the instillation of ethics ans morality via those works. Methodologically, the researchers investigated those 15 works and other literature related to Thai wisdom and ethics. Then, the inheritance of Thai wisdom, the inheritance strategies, and the instillation of ethics and morality through those works were analyzed. After that, the findings were presented via a descriptive analysis. The results revealed that Thai wisdom was inherited into 7 aspects through those 15 work. Firstly, Thai wisdom on ways of life was reflected the most, especially those in rural areas. Secondly, Thai wisdom on foods and herbs was inherited through the knowledge of local foods in three regions, together with the knowledge of food preservation and the advantages of herbs. Thirdly, Thai wisdom on children's plays was inherited in terms of forms, methods, simples and natural materials and equipment. Fourthly, Thai wisdom on the inheritance of Thai literature to reach children's Thai literature was reflected through the presence of traditions on themes, characters, ideologies and setting, new interpretation, creation and mimicry on traditions. Nevertheless, Thai wisdom on cultures, traditions customs, beliefs, rites, and careers appeared a little. As the findings disclosed, there were two strategies for inheriting Thai wisdom: written and unwritten ones. Thai wisdom was mainly inherited through the unwritten strategies, using storytelling, rites, cultures, traditions, and entertainments. In contrast, these were a small number of evidences of the written strategies for inheriting Thai wisdom. With respect to writing strategies, the writers presented Thai wisdom through writing elementsin terms of characters, dialogue, action in plot and thems, and arts of langusge use narrative, explanatory, and descriptive writting. Concerning the instillation of ethics and morality the works, Thai children were taught about thinking process, ways of life, love, solicitude, discipline, responsibility, integrity, gratitude, and sufficiency. Regarding the instillation of morality, Thai children were taught about ways of life, good behaviors, and the truth of life. It is obvious that the 15 works of Children's Thai literature during 2003-2006 are able to inherit Thai wisdom and virture into Thai children effectively without destroying any literature values.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/488
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น