กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/484
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorวิณี ชิดเชิดวงศ์th
dc.contributor.authorผกา บุญเรืองth
dc.contributor.authorคณะศึกษาศาสตร์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:51:51Z
dc.date.available2019-03-25T08:51:51Z
dc.date.issued2535
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/484
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสุขภาพจิตของเด็กในนแหล่งอุตสาหกรรมชายฝั่งภาคตะวันออก แยกตามเพศ สถานภาพของครอบครัวสถานภาพทาง เศรษฐกิจของครอบครัว และการศึกษาของบิดามารดาหรือผู้ปกครองโดยมุ่งศึกษาสุขภาพจิต 9 ด้าน คือ รู้สึกป่วยทางกาย ย้ำคิดย้ำทำ ไม่ชอบติดต่อกับคนอื่น ซึมเศร้า วิตกกังวล ก้าวร้าว กลัวโดยไม่มีเหตุผล หวาดระแวงและโรคจิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กแหล่งอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก จำนวน 1,244 คน จากเด็กในจังหวัดฉะเชิงเทรา 412 คน จังหวัดชลบุรี 420 คน และจังหวัดระยอง 412 คน เครื่องมือทีใช้ในการศึกษาเป็นแบบทดสอบวัดสุขภาพจิต (Symtom-Checklist-90) (SCL -90) จำนวน 90 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าคะแนนแปรปรวน การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ ( F-test) และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ (q-statistic) ของนิวแมน คูลส์ ( Newman-Kules) ผลการวิจัยปรากฏผลดังนี้ 1. เด็กในแหล่งอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกมีปัญหาสุขภาพจิตแตกต่างกับเกณฑ์มาตรฐานปกติ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2. เด็ก เพศต่างกันมีปัญหาสุขภาพจิตแตกต่างกัน เด็กเพศหญิงมีสุขภาพจิตดีเด็กเพศชายในด้าน ไม่ชอบติดต่อกับผู้อื่น ซึมเศร้า วิตกกังวล กลัวโดยไม่มีเหตุผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เด็กที่มีสถานภาพครอบครัวแตกต่างกันมีปัญหาสุขภาพจิตต่างกับเด็กที่มีสถานภาพครอบครัวปกติมีสุขภาพจิตดีกว่า เด็กที่มีสถานภาพทางครอบครัวแตกแยกในทุกๆ ด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. เด็กทีมีสถานภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัวต่างกันมีปัญหาสุขภาพจิตแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 5. เด็กที่มาจากครอบครัวที่บิดามารดา หรือผู้ปกครองมีการศึกษาต่างกันมีปัญหาสุขภาพจิตแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ The purpose of this research was to determine and compare mental health problems of children in industrial estates of the East Cost Region. The problems were identified according to sex, family status, economic status, and educational background of the parets. The mental health problems were classified in 9 dimensions namely: Somatization, Obsessive-Compulsive, Interparsonal Sensitivity, Depression, Anxiety, Hostility, Phobia, Paranoid Ideation and Psychoticism. The smaple used in this study was composed of 1,244 children in industrial estates of the East Coast Region, of which 412 were from Chachongsao Province, 420 from Chonburi Province, and 412 from Rayong Province. The instrument employed was Symptom Checklist-90 ( SCL -90). The data were analysis by means of arithmetic mean, standard deviation, t-test, F-test, and q-statistic of Newman Keuls. The major findings of this study were as follows: 1. There were insignificant differences between the mental health problems of children in industrial estates of the Eest Coast Region and the average norm. 2. Children of different sex had differences in the mental health problems. The mental health problems of male children were found higher than those of female children with a statistically significant difference at .05 level in the following dimesions : Interpersonal sensitivity, Depression, anxiety, and Phobia. 3. Children of different family status had differences in the mental health problems. The mental health problems of children from normal families were found less than those of children from broken families with a statistically significant, difference at .05 level in all of the dimensions classified. 4. The mental health problems of children with defferent economic status were found insignificantly differenct. 5. The mental health problems of children with different parental educational background were found insignificantly different.th_TH
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนจาก ธนาคารกสิกรไทย ประจำปีการศึกษา 2533en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.subjectสุขภาพและอนามัย - - แง่สิ่งแวดล้อมth_TH
dc.subjectเด็ก - - สุขภาพจิตth_TH
dc.subjectเด็กที่เป็นปัญหา - - ไทย (ภาคตะวันออก)th_TH
dc.subjectไทย (ภาคตะวันออก) - - อุตสาหกรรมth_TH
dc.titleสุขภาพจิตของเด็กในแหล่งอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกth_TH
dc.title.alternativeMental health of children in Eastern Seabosrdth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.year2535
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น