กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/475
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจและแนวทางเสริมสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมชาย พัทธเสน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การจูงใจในการทำงาน
ความพอใจในการทำงาน
บุคลากรทางการศึกษา
สาขาเศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความพึงพอใจและแนวทางเสริมสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติของบุคคลากรสายสนับสนุน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ในด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ด้านความก้าวหน้า ด้านผลประโยชน์ตอบแทน ด้านความพร้อมของเครื่องมือในการปฏิบัติงาน ด้านการยอมรับทางสังคม ด้านความมั่งคงในอาชีพ และด้านความต้องการอำนาจบารมี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บุคคลากรสายสนับสนุน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 จำนวน 62 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 47 ข้อ และแนวทางเสริมสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ คพแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) สรุปผลการวิจัย การศึกษาวิจัยความพึงพอใจและแนวทางเสริมสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคคลากรสายสนับสนุน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ในครั้งนี้ สรุปผลตามความมุ่งหมายความสำคัญการวิจัยได้ ดังนี้ 1. บุคคลากรสายสนับสนุน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าข้อที่มีความพึงพอใจมาก มีหนึ่งข้อ คือ ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ส่วนข้อที่มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับคะแนเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความก้าวหน้า ด้านยอมรับทางสังคม ด้านผลประโยชน์ตอบแทน ด้านความพร้อมของเครื่องมือในการปฏิบัติงาน ด้านความมั่นคงในอาชีพ และด้านความต้องการอำนาจบารมี 2. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคคลากรสายสนับสนุน บุคลากรคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกันโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการเปรียบเทียบวุฒิการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านความพร้อมของเครื่องมือแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ เปรียบเทียบตามสายงานโดยภาพรวมพบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. แนวทางเสริมสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคคลากรสายสนับสนุน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ควรกำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานในการปฏิบัติงานให้ชัดเจน ด้านความก้าวหน้า ควรสนับสนุนบุคลากรให้มีการพัฒนาตนเอง ด้าผลประโยชน์ตอบแทน ควรพิจารณาความดีความชอบโดยให้บุคคลากรมีส่วนร่วมเสนอชื่อ ผู้ที่สมควรได้เลื่อนเงินเดือนที่เหมาะสม ด้านความพร้อมของเครื่องมือ ความจัดหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงานของบุคคลากรอย่างเพียงพอตามความต้องการ ด้านการยอมรับทางสังคม ผู้บังคับบัญชายอมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ของบุคคลากร ด้านความมั่นคงในอาชีพ ควรพิจารณาความดีความชอบอย่างเป็นระบบ และด้านความต้องการอำนาจบารมี ความให้บุคคลากรมีส่วนร่วมในการวางแผนและพัฒนาหน่วยงาน The purposes of this research were to study and compare the job satisfaction of the academic affatrs supporting personnel in Faculty of Education, Burapha University as classified by work characteristic, work experience, education level. This research was also to study the strategies on the enhance meal of job satisfaction of this group if personnel in Faculty of Education, Burapha University. The sample groups used in this research were 62 members of the academic affairs supporting personnel in Faculty of Education, Burapha University in the second senester, 2006. The instrument used in collecting the data were 47 questionnaires on job satisfaction aiming at estimation scale of 5 levels of personal. The statistical devices used were the mean, the standard deviation, the t-test, the frequency and weighed score. The results of the research were as follows: 1. The academic affairs supporting personnel in Faculty of Education, Burapha University were moderately satisfied with the job as a whole. Except in the order of job were moderately satisfied very much. The levels of satisfaction decreased in progress, social acknowledgment, fringe benefits, availability of equipments, career security and characteristics need of power. 2. The result of compare in the job satisfaction of the academic affairs supporting personnel in Faculty of Education, Burapha University that have the experience as a whole was not significantly different except in the order job that different as a whole at .05 level. The satisfaction in work education level as a whole was not significantly different except availability of equipments was significantly different as a whole at .05 level. The side part in the other as a whole was not significantly different and compare from sections was not significantly different as a whole. 3. Strategies in the enhance meet of the satisfaction of the academic affairs supporting personnel in Faculty of Education, Burapha University in the order of job should fix of standard. The Progress should support personnel for development oneself. In the fringe benefits should consider in the goodness by the personnel can participate in to nominate the befitting salary that be appropriate with giving. Availability of equipment should procure in the new technology to requirement follow in the work practies sufficiently. In the social acknowledgment was the immediate superior admits to listen suggestion and the opinion all of personnel. In career security should consider in the goodness systematically. And in the characteristics need of power should give personnel to plan and develops institute.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/475
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น