กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4732
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ศักดิ์ชัย เศรษฐ์อนวัช | - |
dc.date.accessioned | 2022-08-30T07:40:41Z | - |
dc.date.available | 2022-08-30T07:40:41Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4732 | - |
dc.description | งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบอิทธิพลของการจัดการองค์กรสุขภาวะ และการตลาดภายในที่ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำของธุรกิจที่พักแรม ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบอิทธิพลของการจัดการองค์กรสุขภาวะ และการตลาดภายในที่ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำของธุรกิจที่พักแรม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับพนักงานต้อนรับส่วนหน้าที่ปฏิบัติงานในธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท และห้องชุด จำนวน 400 ตัวอย่าง และผู้ใช้บริการที่พักแรม จำนวน 400 ตัวอย่าง รวมจำนวนการเก็บข้อมูลทั้งสิ้น 800 ตัวอย่างจากทั้งสองแหล่งข้อมูล กำหนดการสุ่มกำหนดการสุ่มโดยไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota sampling) กำหนดพื้นที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นพื้นที่กรุงเทพมหานคร และพื้นที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ร้อยละ 50 ในอัตราส่วน 1 : 1 ทั้งนี้ เมื่อเก็บข้อมูลกับพนักงานต้อนรับส่วนหน้า 1 ตัวอย่าง จะเก็บข้อมูลกับผู้ใช้บริการที่พักแรมแห่งนั้น 1 ตัวอย่าง และจะจับคู่ผลการให้ข้อมูลทั้งสองแหล่งข้อมูลรวมเป็นหนึ่งชุดข้อมูลผ่านเลขรหัสแบบสอบถามที่เชื่อมโยงข้อมูลในส่วนของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรกับกระบวนการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้า วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL 8.72 ผลการวิจัยปรากฏว่า โมเดลเชิงสาเหตุการจัดการองค์กรสุขภาวะ และการตลาดภายในที่ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำของธุรกิจที่พักแรมที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย ความพึงพอใจเป็นสาเหตุทางตรง (Direct Cause) ของการกลับมาใช้บริการซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวไทย ขณะที่การจัดการองค์กรสุขภาวะ และการตลาดภายในเป็นสาเหตุทางอ้อม (Indirect Cause) ของการกลับมาใช้บริการซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวไทย โมเดลที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี (ค่าสถิติ Chi-square เท่ากับ 5.60 ค่า df เท่ากับ 6 ค่า p เท่ากับ .47 ดัชนี GFI เท่ากับ 1.00) ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรการกลับมาใช้บริการซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวไทยได้ร้อยละ 3 สรุปได้ว่า ความพึงพอใจเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยมีการกลับมาใช้บริการซ้ำในธุรกิจที่พักแรม ส่วนปัจจัยเสริมส่งผ่านความผูกพันต่อองค์กร ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานต้อนรับส่วนหน้า และคุณภาพบริการ คือ การตลาดภายใน และการจัดการองค์กรสุขภาวะ | th_TH |
dc.description.sponsorship | คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การจัดการองค์กร | th_TH |
dc.subject | การซื้อสินค้า | th_TH |
dc.subject | พฤติกรรมผู้บริโภค | th_TH |
dc.subject | การกลับมาซื้อซ้ำ | th_TH |
dc.title | การศึกษาอิทธิพลของการจัดการองค์กรสุขภาวะ และการตลาดภายในที่ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำของธุรกิจที่พักแรม | th_TH |
dc.title.alternative | Happy Workplace and Internal Marketing effect to Customer Retention of Accommodation Business | th_TH |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2564 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to examine the influence of happy workplace management and internal marketing that affect the intention to the hotel business. Examine the consistency of the influence pattern of happy workplace management and internal marketing that affect the return to the hotel business. Data were collected by questionnaires with 400 samples of front desk staffs who work in hotels, resorts, and condominiums, and 400 samples of hotel guests, the total of 800 samples from both data sources. Sampling method was determined by non-probability sampling using quota sampling. The area for data collection were Bangkok and Pattaya city, Chonburi province 50 percent in a ratio of 1:1. When collected one sample of a front desk staff, one sample would be collected from that hotel guest too, and the results of two data sources would be matched into one set via "number code/query identifier" that links the data of organizational management with the customer return process. Descriptive statistics were generated using statistical program for social science; casual modeling involved in the use of LISREL 8.72. The results were as follows: The casual model for happy workplace management and internal marketing that affect the return of the developed hotel business indicated that satisfaction was a direct cause of the return of Thai tourists. Meanwhile, happy workplace management and internal marketing had indirect cause of the return of Thai tourists. The proposed model was consistent with empirical data. Goodness of Chi-square = 5.60, df = 6, p = .47 and GFI = 1.00. The variable in the proposed model accounted for 3 percent of the total variance of returning of Thai tourists. In conclusion, satisfaction was the main cause that influences Thai tourists to return to the hotel business. Meanwhile, supporting factors to the commitment to the organization, performance of front desk staff and service quality were internal marketing and happy workplace management | th_TH |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2565_228.pdf | 4.67 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น