กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/473
ชื่อเรื่อง: | รูปแบบการสอนภาคปฏิบัติวิชาการปฏิบัติการดูแลสุขภาพในชุมชน 1 โดยพยาบาลพี่เลี้ยง แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Model of professional practice study in practicum of health care in community 1 by nurse preceptor at accident and emergency department of Burapha University Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ฐาปณีย์ ครองสกุล มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | พยาบาลพี่เลี้ยง พยาบาลศาสตร์ - - การศึกษาและการสอน สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2549 |
สำนักพิมพ์: | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบ การสอนภาคปฏิบัติวิชาการปฏิบัติการดูแลสุขภาพในชุมชน 1 โดยพยาบาลพี่เลี้ยง แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ จังหวัดชลบุรี และทําการศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบ ผ่านขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาระบบพยาบาลพี่เลี้ยง ขั้นตอนที่ 2 การนําระบบพยาบาลพี่เลี้ยงไปใช้ ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาประสิทธิผลของระบบพยาบาลพี่เลี้ยง กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตพยาบาลที่มาฝึกปฏิบัติด้านการรักษา โรคเบื้องต้น ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ในปีการศึกษา 2550 (1 เมษายน 2550-31 มีนาคม 2551) จํานวน 20 คน และกลุ่มของพยาบาลพี่เลี้ยง ที่เป็นผู้ใช้รูปแบบ จํานวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ มี 4 ชุด ได้แก่ แบบประเมินความคิดเห็นของพยาบาลเกี่ยวกับระบบพยาบาลพี่เลี้ยง แบบประเมินความพึงพอใจของนิสิตเกี่ยวกับระบบพยาบาลพี่เลี้ยง แบบประเมินความรู้นิสิตด้านการรักษาโรคเบื้องต้น และแนวทางการประเมินทักษะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนิสิตด้านการรักษาโรคเบื้องต้น สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างก่อนและ หลังการใช้รูปแบบ โดยค่าที (t-test) ผลการวิจัย 1. ผลการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ของนิสิตก่อนและหลังการฝึกประสบการณ์ พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ผลการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้เกี่ยวกับตนเองด้านความพร้อมในการฝึกปฏิบัติงานก่อนและหลังการฝึกประสบการณ์วิชาชีพก่อนและหลังการฝึกประสบการณ์ พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผลการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้เกี่ยวกับตนเองด้านความสามารถในการฝึกปฏิบัติงานก่อนและหลังการฝึกประสบการณ์วิชาชีพก่อนและหลังการฝึกประสบการณ์ พบว่า แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนิสิตต่อรูปแบบการสอนโดยระบบพยาบาลพี่เลี้ยงหลังการใช้รูปแบบ 4 ด้าน พบว่า นิสิตมีความพึงพอใจในภาพรวม ในระดับ มาก และด้านที่พึงพอใจมากที่สุด คือ ด้าน ปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ โดยนิสิตมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ สัมพันธภาพระหว่างนิสิตกับแพทย์ประจําแผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน รองลงมาคือ วิธีการสอนของพยาบาลพี่เลี้ยง การมอบหมายงานเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยปัจจุบันพยาบาล และประโยชน์จากการ Conference ส่วนความพึงพอใจ น้อยที่สุด ตามลําดับ คือ ระยะเวลาในการฝึกปฏิบัติในแผนอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน รองลงมา คือ การเตรียมประสบการณ์ เกี่ยวกับ การมอบหมายงานและการใช้กระบวนการพยาบาล |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/473 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2566_190.pdf | 5.26 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น