กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/473
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorฐาปณีย์ ครองสกุล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:51:51Z
dc.date.available2019-03-25T08:51:51Z
dc.date.issued2549
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/473
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบ การสอนภาคปฏิบัติวิชาการปฏิบัติการดูแลสุขภาพในชุมชน 1 โดยพยาบาลพี่เลี้ยง แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ จังหวัดชลบุรี และทําการศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบ ผ่านขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาระบบพยาบาลพี่เลี้ยง ขั้นตอนที่ 2 การนําระบบพยาบาลพี่เลี้ยงไปใช้ ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาประสิทธิผลของระบบพยาบาลพี่เลี้ยง กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตพยาบาลที่มาฝึกปฏิบัติด้านการรักษา โรคเบื้องต้น ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ในปีการศึกษา 2550 (1 เมษายน 2550-31 มีนาคม 2551) จํานวน 20 คน และกลุ่มของพยาบาลพี่เลี้ยง ที่เป็นผู้ใช้รูปแบบ จํานวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ มี 4 ชุด ได้แก่ แบบประเมินความคิดเห็นของพยาบาลเกี่ยวกับระบบพยาบาลพี่เลี้ยง แบบประเมินความพึงพอใจของนิสิตเกี่ยวกับระบบพยาบาลพี่เลี้ยง แบบประเมินความรู้นิสิตด้านการรักษาโรคเบื้องต้น และแนวทางการประเมินทักษะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนิสิตด้านการรักษาโรคเบื้องต้น สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างก่อนและ หลังการใช้รูปแบบ โดยค่าที (t-test) ผลการวิจัย 1. ผลการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ของนิสิตก่อนและหลังการฝึกประสบการณ์ พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ผลการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้เกี่ยวกับตนเองด้านความพร้อมในการฝึกปฏิบัติงานก่อนและหลังการฝึกประสบการณ์วิชาชีพก่อนและหลังการฝึกประสบการณ์ พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผลการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้เกี่ยวกับตนเองด้านความสามารถในการฝึกปฏิบัติงานก่อนและหลังการฝึกประสบการณ์วิชาชีพก่อนและหลังการฝึกประสบการณ์ พบว่า แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนิสิตต่อรูปแบบการสอนโดยระบบพยาบาลพี่เลี้ยงหลังการใช้รูปแบบ 4 ด้าน พบว่า นิสิตมีความพึงพอใจในภาพรวม ในระดับ มาก และด้านที่พึงพอใจมากที่สุด คือ ด้าน ปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ โดยนิสิตมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ สัมพันธภาพระหว่างนิสิตกับแพทย์ประจําแผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน รองลงมาคือ วิธีการสอนของพยาบาลพี่เลี้ยง การมอบหมายงานเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยปัจจุบันพยาบาล และประโยชน์จากการ Conference ส่วนความพึงพอใจ น้อยที่สุด ตามลําดับ คือ ระยะเวลาในการฝึกปฏิบัติในแผนอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน รองลงมา คือ การเตรียมประสบการณ์ เกี่ยวกับ การมอบหมายงานและการใช้กระบวนการพยาบาลth_TH
dc.description.sponsorshipผลงานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา ประเภทอุดหนุนทั่วไป งบประมาณเงินรายได้ ประจำปี 2549en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectพยาบาลพี่เลี้ยงth_TH
dc.subjectพยาบาลศาสตร์ - - การศึกษาและการสอนth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleรูปแบบการสอนภาคปฏิบัติวิชาการปฏิบัติการดูแลสุขภาพในชุมชน 1 โดยพยาบาลพี่เลี้ยง แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ จังหวัดชลบุรีth_TH
dc.title.alternativeModel of professional practice study in practicum of health care in community 1 by nurse preceptor at accident and emergency department of Burapha University Hospitalen
dc.typeResearchth_TH
dc.year2549
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to develop the model of Professional Practice study in Practicum of Health Care in Community 1 by nurse preceptor at accident and emergency department of Health Science Center Burapha University Hospital and effective of model using Three steps of study were developing, implement and evaluation model. The study comprised of 20 nursing students who learn practicum of Health Care in Community 1 and practice at accident and emergency department of Health Science Center and 9 nurse preceptors in ER. Tools of this study were 4 questionnaire ; perspective of nurse preceptor who used model, satisfaction of students, pre-post test and guideline for evaluation capability of students. Statistics employed were percentage, mean, standard deviation and t-test. It was found that 1. The comparison of cognitive domain in this practicum, nursing students' self -perception for readiness and skill between pre-post practical part at accident and emergency department of Health Science Center Burapha University was statistical significant at .01 2. The satisfaction of nursing students in model of professional practice study in practicum of health care in community 1 by nurse preceptor was in high level. The most satisfaction in supportive factors for instruction. The relationship between doctor and nursing students was the most satisfaction, while, duration for practice was the lowest satisfaction.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_190.pdf5.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น