กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/471
ชื่อเรื่อง: | ผลของโปรแกรมส่งเสริมความผูกพันในระยะตั้งครรภ์ต่อความผูกพันระหว่างมารดาและทารกหลังคลอด ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยบูรพา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of Antepartal Bonding Promoting Program on Maternal-Newborn Attachment during Postpartum Period at Health Science Center, Burapha University |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | มณิสรา เคร่งจริง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ครรภ์ มารดาและเด็ก |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความผูกพันในระยะตั้งครรภ์ โดยเปรียบเทียบคะแนนความผูกพันและสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกภายหลังคลอด ระหว่างมารดากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมความผูกพันในระยะตั้งครรภ์ และมารดากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมความผูกพันในระยะตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงครรภ์แรกอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ ที่มาฝากครรภ์ คลอด นอนพักหลังคลอด และตรวจหลังคลอดที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา จํานวน 40 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้ แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความผูกพันในระยะตั้งครรภ์ ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมความผูกพันในระยะตั้งครรภ์ เครื่องมือที่ใชในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมส่งเสริมความผูกพันในระยะตั้งครรภ์ แบบประเมินความผูกพันระหว่างมารดาและทารกในระยะหลังคลอด และแบบวัดสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบผลรวมของคะแนนความผูกพันและคะแนนสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกหลังคลอด 2 ครั้ง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติที (t-test) เปรียบเทียบผลรวมของคะแนนความผูกพันและคะแนนสัมพันธภาพระหว่าง มารดาและทารกหลังคลอดภายในแต่ละกลุ่ม ระหว่างครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 โดยใช้สถิติที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มทดลองมีผลรวมของคะแนนความผูกพันและคะแนนสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกในระยะหลังคลอด 2 วันและในระยะหลังคลอด 6 สัปดาห์ สูงกว่าในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. กลุ่มทดลองมีผลรวมของคะแนนความผูกพันและคะแนนสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกในครั้งที่ 2 สูงกว่าในครั้งที่ 1 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และกลุ่มควบคุมมีผลรวมของคะแนนความผูกพันและคะแนนสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกในครั้งที่ 2 สูงกว่าในครั้งที่ 1 อย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยครั้งนี้นําไปสู่การนําโปรแกรมส่งเสริมความผูกพันในระยะตั้งครรภ์มาใช้อย่างต่อเนื่องในหน่วยฝากครรภ์ต่อไป |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/471 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2566_055.pdf | 3.09 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น