กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4698
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของตัวติดตามแบบพาสซีฟทีเคลื่อนตัวตามมวลน้ำทะเลที่มีแหล่งกำเนิดจากปากแม่น้ำในบริเวณ อ่าวไทยตอนใน โดยใช้แบบจำลองอุทกพลศาสตร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Investigation of the seasonal variation of passive tracer released from river mouths in the Inner Gulf of Thailand by using a hydrodynamic model
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อาวุธ หมั่นหาผล
ศิราพร ทองอุดม
อนุกูล บูรณประทีปรัตน์
คำสำคัญ: แบบจำลองทางชลศาสตร์
กระแสน้ำ
น้ำทะเลเปลี่ยนสี
ตัวติดตามแบบพาสซีฟ
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของตัวติดตามแบบพาสซีฟที่เคลื่อนตัวตามมวลน้ำทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนในโดยใช้แบบจำลองอุทกพลศาสตร์ ชื่อ Princeton Ocean Model (POM) ร่วมกับแบบจำลองการแพร่กระจายของตัวติดตามแบบพาสซีฟ ผลการศึกษา พบว่า ลักษณะการไหลเวียนของกระแสน้ำในช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีรูปแบบตามเข็มนาฬิกาและในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีรูปแบบทวนเข็มนาฬิกา การไหลเวียนที่เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการแพร่กระจายของตัวติดตามแบบพาสซีฟที่มีแหล่งกำเนิดมาจากแม่น้ำสายหลักในอ่าวไทยตอนใน โดยพบว่าการไหลเวียนในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะพัดพาตัวติดตามแบบพาสซีฟจากปากแม่น้ำต่าง ๆ เลียบชายฝั่งด้านเหนือไปสู่ชายฝั่งด้านตะวันออกของอ่าวไทยตอนใน ตัวติดตามแบบพาสซีฟที่เป็นสารอนุรักษ์ซึ่งเป็นตัวแทนของน้ำท่าจากแม่น้ำบางปะกงและแม่น้ำเจ้าพระยามีอิทธิพลต่อพื้นที่บริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกของอ่าวไทยตอนในตลอดทั้งปี สัดส่วนร้อยละของตัวติดตามแบบพาสซีฟที่แพร่กระจายมาจากแม่น้ำบางปะกง เจ้าพระยา แม่กลอง และท่าจีน ที่ส่งผลต่อพื้นที่ด้านตะวันออกอยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 12.1-81.7, 18.3-47.9,0.0-46.1 และ 0.0-10.8 ตามลำดับ ส่วนกระแสน้ำในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะพัดพาตัวติดตามแบบพาสซีฟจากปากแม่น้ำต่าง ๆ เลียบชายฝั่งด้านเหนือไปสู่ชายฝั่งด้านตะวันตกของอ่าวไทยตอนในตัวติดตามแบบพาสซีฟจากปากแม่น้ำแม่กลองและปากแม่น้ำเจ้าพระยามีอิทธิพลต่อพื้นที่บริเวณชายฝั่ งด้านตะวันตกของอ่าวไทยตอนในเป็นส่วนใหญ่เช่นกัน โดยมีสัดส่วนร้อยละของตัวติดตามแบบพาสซีฟแพร่กระจายจากแม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง อยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 18.5-98.2, 0.0-68.2, 1.7-21.9 และ 0.0-6.1 ตามลำดับ ผลการจำลองการเคลื่อนที่ของตัวติดตามแบบพาสซีฟในแต่ละฤดูกาลสอดคล้องกับรายงานการเกิดปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีตามพื้นที่ในอดีตที่ผ่านมา
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4698
ISSN: 2351-0781(online)
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
sci27n2p1334-1356.pdf1.99 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น