กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/468
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorพัชริน แน่นหนา
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ
dc.date.accessioned2019-03-25T08:51:51Z
dc.date.available2019-03-25T08:51:51Z
dc.date.issued2553
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/468
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อ ความรู้ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โดยใช้แนวคิดทฤษฎีระบบการพยาบาลของ โอเร็ม (Orem, 1995) เป็นกรอบแนวคิด เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยไตวายเรื้อรังทั้งชาย-หญิง อายุระหว่าง 60-85 ปี ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หน่วยไตเทียม ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 40 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบความรู้ แบบทดสอบความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย แผนการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ คู่มือการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้องรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ในกลุ่มทดลองพบว่า ความรู้ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ฟอดเลือกด้วยเครื่องไตเทียม หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ 2. ความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่อวไตเทียม กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระกับ .05 ผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้ปฏิบัติงานในด้านการให้การดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมได้นำโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้มาใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยในหน่วยไตเทียม ของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพาth
dc.description.sponsorshipผลงานวิจัยฉบับนี้ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา ประเภทอุดหนุนทั่วไป งบประมาณเงินรายได้ ประจำปี 2551en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมth_TH
dc.subjectไตวายเรื้อรัง - - ผู้ป่วย - - พฤติกรรมth_TH
dc.subjectไตวายเรื้อรัง - - ผู้ป่วย - - การดูแลth_TH
dc.titleโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ ต่อความรู้ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมth_TH
dc.title.alternativeEffects of a Supportive-educative Nursing Program on Knowledge, Self-care Agency in Patients with Chronic Kidney Disease Treated with Hemodialysisen
dc.typeResearch
dc.year2553
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this was to study the effects of a supportive-educative nursing program on knowledge, self-care agency in patients with chronic kidney disease treated with hemodialysis. Orem’s theory of nursing system were used as a conceptual framework. The quasi-experimental research was implemented two-group repeated measure pretest and posttest design treated with hemodialysis in the hemodialysis unit of the Health Science Center, Burapha University. The samples of 40 patients were randomly assigned as experimental group and control group, 20 patients each. The experimental group received the supportive-educative nursing program. But the control group received the routine nursing care of the Health Science Center. The instruments consisted of questionnaire including knowledge measurement, self-care agency measurement. The experiment program consisted of lesson plan, self care manual. The data were analyzed using t-test. After the experimental, it was found that patients have knowledge on nursing care scores higher than before the study and it was significant at the .01 level and self-care agency on nursing care score higher than before the study and it was significant at the .05 level, knowledge on nursing care scores in experimental group was significant higher than control group at the .05 level. But self-care agency was found no difference than the control group. This finding should adjust supportive-educative nursing program to be more effectiveness and continuing using at the hemodialysis unit of Health Science Center, Burapha University.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_064.pdf5.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น