กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4682
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | เศรษฐ์ฐ พัฒนมาศ | - |
dc.contributor.author | ธีทัต ตรีศิริโชติ | - |
dc.date.accessioned | 2022-08-13T12:48:15Z | - |
dc.date.available | 2022-08-13T12:48:15Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.issn | 1685-2354 | - |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4682 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาเรื่อง “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของพนักงาน สปป.ลาว ที่ทำงานกับบริษัท ข้ามชาติในประเทศ สปป.ลาว” งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจโดยการใช้แบบสอบถามสำรวจความ คิดเห็นห้าระดับแบบลิเคิร์ทสเกล เก็บตัวอย่างจากกับพนักงาน สปป.ลาว ที่ทำงานในบริษัทข้ามชาติอย่างน้อย 3 ปี ขึ้นไป จำนวน 571 คน ด้วยการวิเคราะห์สมการโครงสร้างแบบกำลังสองน้อยที่สุด (PartialLeast Squares Structural Equation Modeling: PLS-SEM) ผลวิจัยพบว่า ความผูกพันต่อองค์กรและความพึงพอใจในการทำงานมีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของพนักงาน สปป.ลาว ที่ทำงานกับบริษัทข้ามชาติในประเทศ สปป.ลาว หมายความว่า การที่จะทำให้พนักงาน สปป.ลาว ที่ทำงานกับบริษัทข้ามชาติในประเทศ สปป.ลาว จะต้องสร้างความผูกพันด้านจิตใจ โดยทำให้มีความสุข มีความภาคภูมิใจ และให้ความสำคัญกับพนักงาน ในการทำงานในองค์กร และจะต้องสร้างความผูกพันอย่างต่อเนื่อง โดยจัดให้มีสวัสดิการที่ดี ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม และมีเพื่อนร่วมงานที่ดี รวมถึงต้องสร้างบรรทัดฐานด้านความผูกพันในองค์กร โดยสร้างความจงรักภักดีต่อองค์กร ในด้านที่สองการสร้างความพึงพอใจในการทำงาน ประกอบไปด้วย ความพึงพอใจในค่าตอบแทนให้พนักงานพอใจด้านค่าตอบแทนที่ได้รับ มีความเหมาะสมกับงานและความรู้ ความพึงพอใจในความก้าวหน้าในงาน ได้แก่ โอกาสที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง ได้รับการสนับสนุนให้พัฒนาตนเอง ได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชาให้แสดงความรู้ความสามารถ และความก้าวหน้าที่ผ่านมา ด้านความพึงพอใจในการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชา ได้แก่ ความสัมพันธ์อันดีระหว่างพนักงานกับผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาเข้าใจปัญหาในการปฏิบัติงาน พร้อมให้คำแนะนำและความช่วยเหลือในการทำงาน ได้รับความเป็นธรรมจากผู้บังคับบัญชา และผู้บังคับบัญชาของมีความรู้ ความสามารถ เข้าใจงานเป็นอย่างดี ด้านความพึงพอใจในลักษณะของงานและเงื่อนไขในการทำงาน ได้แก่ ความพอใจในงานที่ได้รับมอบหมาย | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ความผูกพันต่อองค์การ | th_TH |
dc.subject | ความพอใจในการทำงาน | th_TH |
dc.subject | การบริหารงานบุคคล | th_TH |
dc.subject | การจูงใจในการทำงาน | th_TH |
dc.title | ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของพนักงาน สปป.ลาว ที่ทำงานในบริษัทข้ามชาติในประเทศ สปป.ลาว | th_TH |
dc.title.alternative | Factors effecting for Laos employee retention in multinational corporation (MNC) in Lao PDR | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.issue | 1 | th_TH |
dc.volume | 14 | th_TH |
dc.year | 2562 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This study aimed to investigate the "Factors effecting for Laos Employee Retention in Multinational Corporation (MNC) in LAO PDR.". This study was a survey research by using a questionnaire for surveying the opinion as called the Likert Scale with five-point scale. The sample group was composed of 571 Lao employees who worked in Multinational Corporation for at least 3 years. The collected data were analyzed with the Partial Least Squares Structural Equation Modeling: PLS-SEM. The result was that the employee engagement and employee satisfaction influenced on the employee retention of Lao employees in Multinational Corporation in Lao PDR. This means that in order to enhance retention of Lao employee in Multinational Corporation in Lao PDR, there must be a creation of mental engagement by making employees be happy, be proud and pay attention to them for working in the organization and must create a continuous employee engagement by providing good welfare, appropriate compensation and good colleagues including create employee engagement norms in the organization by creating employee loyalty to organization. The second aspect on creating employee satisfaction consisted of the compensation satisfaction by making the employee satisfied in their compensation which is suitable for their works and knowledge. The satisfaction in career advancement included the career advancement opportunities, the fact that the employees are encouraged to develop their skills and that supervisors support them to show their knowledge and capabilities, and their achievements in the past. The satisfaction of the supervisor's performance included a good relationship between employees and supervisors, the fact that supervisor understood in employee’s operational problems, gave them advice and support at work, and the fact that employees got the fairness from supervisors and that employee’s supervisors had knowledge, capability and understanding on work well. The employee satisfaction on nature and conditions of work included the satisfaction with the assigned tasks | th_TH |
dc.journal | วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์ = Journal of Graduate School of Commerce Burapha Review | th_TH |
dc.page | 74-89 | th_TH |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น