กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4665
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยของการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting decision making on pursuing a bachelor’s degree of freshmen: A case study of a university in eastern region |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เขมญา คินิมาน อาพันธ์ชนิต เจนจิต ภัทรมนัส ศรีตระกูล สฎายุ ธีระวณิชตระกูล |
คำสำคัญ: | การศึกษาขั้นอุดมศึกษา การศึกษาขั้นอุดมศึกษา -- การตัดสินใจ |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยของการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก ประจำปีการศึกษา 2563 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 637 คน โดยผู้วิจัยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามออนไลน์ (Google form) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างด้วย t-test และ f-test โดยกำหนดค่าระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย รองลงมา คือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกของมหาวิทยาลัย ด้านหลักสูตร และด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบปัจจัยของการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า 1) นักศึกษาที่มีเพศแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยของการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยแตกต่างกัน 2) นักศึกษาที่จบการศึกษาจากภูมิภาคที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยของการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกในด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกของมหาวิทยาลัยแตกต่างกัน 3) นักศึกษาที่สมัครผ่านระบบการคัดเลือก TCAS รอบที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยของการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในภาคตะวันออกในทุกด้านแตกต่างกัน นอกจากนี้ผลการศึกษาช่องทางการรับรู้ข้อมูลของมหาวิทยาลัย จำแนกตามระบบการคัดเลือก TCAS พบว่า นักศึกษาที่สมัครเข้าศึกษาผ่านระบบ TCAS ทุกรอบ รับรู้ข้อมูลของมหาวิทยาลัยจากช่องทางสังคมออนไลน์ต่างๆ เช่น กลุ่มใน Facebook Twitter Instagram มากที่สุดเป็นอันดับ 1 รองลงมาอันดับ 2 ได้แก่ เว็บไซต์ Facebook ของคณะ/มหาวิทยาลัย และอันดับ 3 ได้แก่ เว็บไซต์แนะแนวการศึกษาต่อ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4665 |
ISSN: | 0125-3212 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
edu32n3p87-102.pdf | 386.51 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น